Author Archives: visaok

ซื้อประกันการเดินทาง

การประกันการเดินทาง

การเตรียมตัวสำหรับเดินทางในต่างประเทศได้อย่างอุ่นใจ  คุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือคุ้มครองการเจ็บป่วยอย่าง เฉียบพลันที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ตลอด 24 ชั่วโมงในระหว่างการเดินทาง  การซื้อประกันเดินทางต่างประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดภาระ มีหน่วยงานมาดูแลเมื่อท่านเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการเดินทาง

แน่นอนว่า การตัดสินใจเลือกซื้อประกันฯ จากบริษัทประกัน ท่านอาจดูงบประมาณ ความจำเป็น แผนความคุ้มครอง การบริการ และ ความน่าเชื่อถือ  ที่สำคัญคือ เป็นบริษัทฯ ที่ต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตจากประเทศในกลุ่มเชงเก้น กรณีที่ท่านยื่นวีซ่าไปในกลุ่มประเทศยุโรโซน เพื่อนำไปใช้ในการยื่นขอวีซ่า

หลักฐานการประกันสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการยื่นคำร้องขอ วีซ่า ทั้งนี้วงเงินประกันต้องไม่ต่ำกว่า 30,000.– เหรียญยูโร หรือ 1.5 ล้านบาท และจะเป็นกรมธรรม์ของบริษัทประกันในยุโรป หรือบริษัทประกันท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยก็ได้ กรมธรรม์ของบริษัทประกันสามารถใช้แสดงเป็นหลักฐานต่อทางสถานทูตฯได้  โดยผู้ยื่นขอวีซ่าสามารถเลือกบริษัทที่จะทำประกันได้เอง ขอแนะนำบริษัทประกันภัยที่เป็นที่ยอมรับอันดับต้นๆ ในเมืองไทย ดังนี้

รายชื่อบริษัทประกันชั้นนำ

1. Mondial Assistance (Thailand) Co.,Ltd.  http://www.mondial-assistance-thailand.com

2. AXA Insurance PCL  บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) http://www.axa.co.th/th

3. บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (NZI)  http://www.nzi.co.th

4. BUPA Health Insurance (บูพา ประเทศไทย)  www.bupathailand.com

5. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด  (DHIPAYA Insurance) www.dhipaya.co.th

6. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  www.muangthaiinsurance.com

หมายเหตุ  แผนการคุ้มครองที่คุณซื้อนั้นจะมีระยะเวลาครอบคลุมสูงสุด 90 วัน เท่านั้น กรณีที่ผู้ซื้อความคุ้มครองอยู่ภายใต้การรักษาของแพทย์อยู่ก่อนแล้ว เราจะไม่คุ้มครองผู้ถือประกันในส่วนของอารการดังกล่าว  ประกันเดินทางโดยทั่วไปจะถูกออกแบบมาสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวและการเดินทางเพื่อธุรกิจ หากวีซ่าของท่านเป็นประเภทวีซ่านักเรียน และมีระยะเวลาเกิน 90 วัน ท่านควรศึกษาเงื่อนไขของบริษัทฯ ให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อ

ทำไมต้องยื่นวีซ่าผ่าน VFS

ในปัจจุบันผู้ยื่นขอวีซ่าอาจพบว่ามีหลายสถานทูตที่ใช้บริการจากหน่วยงาน VFS เป็นผู้จัดการรับเอกสารการยื่นคำร้องขอวีซ่า  เราคงไม่ทราบว่า ทำไมสถานฑูคต้องให้หน่วยงาน VFS มาเป็นตัวกลางทำหน้าที่รับเอกสารและส่งมอบพาสปอร์ตแทนสถานฑูต  บ้างยังไม่ทราบเลยว่าสถานฑูต กับ VFS นั้นเป็นคนละองค์กรกัน VFS ไม่มีอำนาจในการอนุมัติวีซ่าให้กับผู้สมัครท่านใด  หรือบ้างอาจยังไม่ทราบชัดเจนว่า VFS  คือ หน่วยงานอะไร ทำอะไรบ้าง และมีสถานทูตประจำประเทศใดบ้างที่ใช้บริการของ VFS ในการรับคำร้องการยื่นเอกสารขอวีซ่า

วีเอฟเอส โกลด์บอล VFS Global เป็นหน่วยงานเอาท์ซอร์สระดับอินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการทูตและหน่วย งานระดับรัฐบาลทั่วโลก ในการจัดการด้านเอกสารให้แก่องค์กรดังกล่าว วีเอฟเอสเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) VFS มีศูนย์ดำเนินการเพื่อเป็นตัวแทนรับยื่นวีซ่ามากกว่า 526 ศูนย์ ใน 63 ประเทศ    นับจนถึงปัจจุบันตัวเลขผู้ใช้บริการพุ่งสูงถึง 43 ล้านคนเศษ

รายชื่อของสถานฑูตในประเทศไทยที่ใช้บริการ VFS

ชื่อสถานทูต

ชื่อเว็บไซต์

  • ประเทศออสเตรเลีย
http://www.vfs-au.net/
  • ประเทศเบลเยี่ยม
http://www.vfsglobal.com/belgium/thailand/
  • ประเทศเดนมาร์ก
http://www.vfsglobal-denmark.com/thailand/
  • ประเทศไอซ์แลนด์
http://vfsglobal-denmark.com/thailand/thai/iceland_tourist.html
  • ประเทศอินเดีย
http://www.ivac-th.com/
  • ประเทศอิตาลี
http://www.vfsglobal.com/italy/thailand/
  • ประเทศญี่ปุ่น
http://www.jp-vfsglobal-th.com/
  • ประเทศเนเธอร์แลนด์
http://www.vfsglobal.com/netherlands/thailand/
  • ประเทศนอร์เวย์
http://www.vfsglobal.com/norway/thailand/
  • ประเทศสเปน
http://www.vfsglobal.com/spain/thailand/
  • ประเทศสวีเดน
http://www.vfsglobal.com/sweden/thailand/
  • ประเทศอังกฤษ
http://www.vfs-uk-th.com/

เมื่อท่านทราบแล้วว่า ท่านจะไปยื่นวีซ่าของประเทศอะไร ท่านทราบแล้วว่าท่านจะต้องมุ่งหน้าไปที่ใด เช่น หากท่านยื่นวีซ่าประเทศสหราชอาณาจักร ท่านสามารถมุ่งไปยัง VFS ที่ถนนราชดำริ แทนที่จะตรงไปสถานฑูตฯ ที่เพลินจิต จะได้ไม่เป็นการเสียเวลา และท่านยังสามารถใช้บริการด้านข้อมูลของ VFS เกี่ยวกับการเตรียมเอกสาร และวิธีการยื่นวีซ่าได้อย่างละเอียดอีกด้วยค่ะ

ข้อแนะนำในการโดยสารเครื่องบิน

การโดยสารทางเครื่องบินมีขั้นตอนคือ

1. การจองตั๋วและการจัดเตรียมสิ่งของ
2. การเช็คอิน
3. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาออก
4. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาออก
5. การเตรียมพร้อมขึ้นเครื่อง
6. ข้อควรปฎิบัติเมื่ออยู่บนเครื่อง และการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน
7. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า
8. การรับกระเป๋าเดินทางจากสายพาน
9. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาเข้า

รายละเอียดในแต่ละขั้นตอน

สำหรับเส้นทางไทย-ออสเตรเลีย

1. การจองตั๋วและการจัดเตรียมสิ่งของ
โดยปกติการจองตั๋ว เราจะพิจารณาจากรายละเอียดเช่น ราคาตั๋วเครื่องบิน ระยะเวลาการเดินทาง  สิ่งอำนวยความสะดวกภายในเครื่องบิน การบริการ และ ความเข้มงวดในเรื่องของน้ำหนักสิ่งของที่จะขนได้ไม่เท่ากัน ตั๋วแต่ละชนิดก็อนุญาตให้ขนน้ำหนักได้ต่างๆ กันไป ดังนั้น จึงต้องพูดถึงเล็กน้อย และให้ตรวจสอบให้มั่นใจว่าตกลงได้น้ำหนักเท่าไหร่

โดยทั่วไปแล้ว สำหรับเส้นทางไทย-ออสเตรเลีย ในราคาปกติ (หรือโปรโมชั่นปกติ) ตั๋วธรรมดาจะได้น้ำหนัก 20 กิโล และตั๋วนักเรียน ได้เพิ่มเป็น 30 กิโล แต่ถ้าเป็นสายการบินโลวคอส จะเข้มงวดเรื่องน้ำหนักมาก ให้ 20 ก็ 20 เกินมาก็โดนปรับ ดังนั้นต้องระวังมากเป็นพิเศษ

มีข้อควรระวังอีกอย่างนึงในการจัดกระเป๋าก็คือ ตามกฎการบินระหว่างประเทศแล้วกระเป๋าแต่ละใบจะต้องน้ำหนักไม่เกิน 32 กิโล ถ้าเกินนั้นมักจะถูกให้เอาของออกไม่ให้เกินนี้เพราะถ้าพนักงานขนกระเป๋าร้อง เรียนสายการบินจะถูกปรับ

ส่วนกระเป๋าขึ้นเครื่องนั้น ไม่ว่าจะสายการบินไหน คลาสอะไร โดยทั่วไปแล้วเค้าก็ให้แค่ 7 กิโล + กระเป๋าโน้ตบุคหรือกระเป๋าเอกสารอีก 1 ใบ (แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้เข้มงวดเวอร์อะไรขนาดนั้น ขอให้ไม่ดูแล้วหนักเกินไป หรือใหญ่เกินไป

ก่อนเดินทางไปสนามบิน ให้มั่นใจว่ามีเอกสารเหล่านี้ติดตัว
– พาสปอร์ต
– วีซ่า  หากเป็นวีซ่านักเรียนควรเตรียมเอกสารใบตอบรับเข้าเรียนของโรงเรียนติดตัวไว้ด้วย
– ตั๋วเครื่องบิน
– ชื่อและเบอร์ติดต่อของคนที่จะมารับปลายทาง

2. การเช็คอิน
ขั้นตอนการเช็คอิน เมื่อไปถึงสนามบินก็มองหาเคาน์เตอร์สายการบิน เตรียม ตั๋วกับพาสปอร์ตให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวกก็เอาตั๋วเครื่องบินแนบไว้ในหน้าพาสปอร์ตที่มีวีซ่าของเราไป เลย เวลาเค้าเปิดหาจะได้เปิดง่ายๆ แต่ถ้าเป็นวีซ่าแบบ e-visa ซึ่งไม่มีสติกเกอร์แปะในวีซ่า ก็เอาจดหมายแนบให้เค้าดูด้วย

เราจะ ต้องยกกระเป๋าที่จะโหลดใต้เครื่องขึ้นใส่สายพานให้เจ้าหน้าที่ด้วยตัว เอง ดังนั้นถ้ากระเป๋าใหญ่มากแล้วตัวเล็กยกไม่ไหวก็ให้หาคนไปช่วยยกหรือไม่ก็ แบ่งเป็นกระเป๋าเล็กสองกระเป๋าแทน ส่วนกระเป๋าโหลดไม่ต้องใส่ลงไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่บอกให้ชั่งดู ก็ต้องชั่งตามนั้น

สิ่งที่เจ้าหน้าที่จะถามเมื่อเช็คอินก็คือ เรามีสิ่งของไหนที่เป็นวัตถุอันตราย วัตถุระเบิด วัสดุติดไฟ และของผิดกฎหมายอื่นๆ หรือไม่ และโดยเฉพาะกระเป๋าที่จะถือขึ้นเครื่องนั้นจะมีข้อบังคับที่เข้มงวดกว่า กระเป๋าที่โหลดเสียอีก นั่นคือ สิ่งของที่ว่ามาทั้งหมดในข้างต้นห้ามนำขึ้นเครื่อง รวมทั้ง ของมีคม เครื่องมือพวกไขขวงต่างๆ ด้วย และที่สำคัญคือของเหลว

ระเบียบการถือของเหลวขึ้นเครื่อง
– ของเหลว(รวมทั้งเจลต่างๆ ) แต่ละชิ้นจะต้องบรรจุในภาชนะขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร ต่อให้มีปริมาณเหลือน้อย แต่ถ้าปริมาตรบรรจุของภาชนะเกิน 100 มิลลิลิตรก็เอาขึ้นไม่ได้
– ของเหลวทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร
– ของเหลวทั้งหมดต้องรวมกันใส่ถุงพลาสติกใส
ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้ จะต้องโดนยึดทิ้งเมื่อตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาออก

การเลือกที่นั่ง
โดยปกติเราสามารถเลือกที่นั่งได้ล่วงหน้า หรือบอกเจ้าหน้าที่ตอนเช็คอินก้อได้  มีคำแนะนำในการเลือกที่นั่งดังนี้
– ถ้าเป็นคนเข้าห้องน้ำบ่อย ให้เลือกนั่งติดทางเดิน อย่านั่งติดหน้าต่างเพราะจะได้ไม่ต้องเข้าๆ ออกๆ บ่อยๆ เป็นที่รำคาญแก่คนที่นั่งข้างๆ
– ถ้าไม่มีปัญหาการเข้าห้องน้ำ และอยากจะเห็นทิวทัศน์ข้างนอก ก็ให้เลือกนั่งติดหน้าต่าง
– ถ้าเดินทางตอนเย็นแล้วอยากจะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าที่ออสเตรเลีย ให้เลือกนั่งติดหน้าต่างด้านซ้าย
– ถ้าเดินทางตอนเช้าแล้วอยากเห็นพระอาทิตย์ตกดินระหว่างทาง ให้เลือกนั่งติดหน้าต่างด้านขวา
– หากอยากให้ได้บรรยากาศการนั่งเครื่องบิน ก็จะต้องนั่งมองจากหน้าต่างออกไปแล้วมองเห็นปีก ดังนั้น ก็ต้องขอที่นั่งที่ค่อนไปทางหางๆ

ถ้าอยากจะเอาลึกซึ้งกว่านี้ มีเว็บที่เค้าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเลือกที่นั่งของแต่ละสายการบิน หากรู้ว่าเดินทางสายการบินอะไร และเครื่องบินรุ่นไหน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้
http://www.seatguru.com

Boarding Pass
หลังจากเช็คอินแล้ว เราจะได้รับ Boarding Pass ซึ่งจะระบุข้อมูลสำคัญที่แต่ละสายการบิน
– เที่ยวบิน / Flight Number
– สกุล/ชื่อ ของผู้เดินทาง
– คลาสที่เดินทาง
– วันที่เดินทาง / Departure Date
– เวลาเดินทาง / Departure Time
– สนามบินต้นทาง
– กำหนดเวลาปลายทาง / Arival Time
– สนามบินปลายทาง
– ประตู / GATE
– ที่นั่ง / Seat
– เวลาขึ้นเครื่อง / Boarding Time (คือเวลาที่เราจะต้องไปถึงหน้าประตูเพื่อขึ้นเครื่อง ซึ่งเป็นคนละเวลากับเวลาเครื่องออก กรุณาอย่าสับสน เพราะถ้าสับสนตกเครื่องแน่นอน)

3. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาออก
เมื่อเช็คอินเรียบร้อยและได้รับ Boarding Pass แล้ว เราจะเหลือสิ่งของแค่กระเป๋าที่เราจะนำติดตัวขึ้นเครื่องเท่านั้น ดังนั้นก็เดินกันสบายตัว

สิ่งที่จะต้องทำเป็นขั้นตอนต่อไปคือการตรวจหนังสือเดินทางขาออก ที่สนามบินสุวรรณภูมิมีจุดตรวจหนังสือเดินทางอยู่สองจุดใกล้ๆ กัน จะเดินทางออกช่องไหนต้องถามเจ้าหน้าที่สายการบินเวลาเช็คอิน

ก่อนจะเข้าไปที่เคาน์เตอร์ตรวจพาสปอร์ต ให้หยิบเอกสารใบขาออกมากรอกให้เรียบร้อย
เมื่อไปถึงเคาน์เตอร์ ให้เรายื่นพาสปอร์ต บอร์ดดิ้งพาส และใบขาออกให้เค้า ถ้าในพาสปอร์ตมีวีซ่า ให้เอาเอกสารเสียบไว้หน้าที่มีวีซ่าเลยก็ได้ เจ้าหน้าที่จะได้เปิดหาได้ง่ายขึ้น เค้าก็จะไม่อะไรกับเรามากมาย เค้าแค่เช็ควีซ่าของเราว่ามีวีซ่าเรียบร้อยดีมั้ย หรือมีอะไรที่ทำให้เราไม่สามารถเดินทางได้รึเปล่า ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี เค้าก็จะคืนพาสปอร์ตมาให้เรา

4. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาออก
หลังจากตรวจหนังสือเดินทางขาออกเรียบร้อย เราก็จะต้องผ่านด่านตรวจรักษาความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องบิน ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิ มี Security Checkpoints หลายจุด ดังนั้นก็ให้ไปใช้บริการในจุดที่เป็นทางผ่านไปเกทที่เราจะเดินทาง

ในการตรวจสิ่งของนี้ เราจะต้องเอากระเป๋าทั้งหมดใส่ลงไปบนสายพานเพื่อผ่านเครื่องเอ็กซเรย์ ของอื่นๆ เช่น นาฬิกา เข็มขัดที่มีหัวเป็นโลหะ มือถือ กระเป๋าสตางค์ เหรียญ ง่ายๆ คือทุกสิ่งที่เป็นโลหะ ให้เอาใส่ถาดที่เค้าเตรียมไว้ แล้วก็ใส่เข้าไปในสายพานพร้อมๆ กับกระเป๋าของเรา

หลังจากนั้นตัวเราเองก็เดินผ่านประตูตรวจโลหะ ถ้าไม่มีอะไรร้องก็เรียบร้อย เดินกลับไปรับกระเป๋าคืนได้ ถ้ามันร้อง เจ้าหน้าที่ก็จะให้ถอยกลับไปเดินมาใหม่ ถ้ามีโลหะก็ให้ถอดออก หรือถ้าอยู่ในตำแหน่งถอดไม่ได้ เช่น กกน. ป้ายเหล็ก พวกนี้ก็เปิดให้เค้าดู เค้าอาจจะเอาเครื่องตรวจโลหะมาทาบๆ

5. การเตรียมพร้อมขึ้นเครื่อง
เมื่อผ่านด่านตรวจรักษาความปลอดภัยมาแล้ว ก็ถึงเวลาต้องไปรอหน้าเกทเตรียมตัวขึ้นเครื่อง หากไม่เคยเดินทางมาก่อน ให้เดินไปดูที่เกทให้เรียบร้อยว่าเกทอยู่ตรงไหนแน่ ถ้ามีเวลาเหลือเยอะ อาจจะออกไปเดินเล่นก่อนก็ได้ แต่จำทางไปให้ดีและดูหน้าจอเรื่อยๆ เผื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกท แต่ถ้ามีเวลาเหลือน้อย คือประมาณไม่เกิน 45 นาทีก่อนเครื่องออก ไม่ควรจะหนีไปไหน เพราะอันที่จริงเค้ามักจะเรียกขึ้นเครื่องก่อนเครื่องออกตั้งแต่ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเครื่องออกแล้วด้วยซ้ำ เพราะเดินทางไกลคนยอะ เค้าต้องให้เวลาคนขึ้นไปเตรียมตัวบนเครื่อง

โดยทั่วไป การเรียกเข้าเกทมักจะมีหลายประตูเพราะเครื่องใหญ่ เจ้าหน้าที่จะบอก หรือมีป้ายบอก ว่าชั้นที่นั่งของเราต้องออำประตูไหนของงวงที่เชื่อมกับเครื่อง จริงๆ ก็ไม่มีอะไรยากในขั้นตอนนี้ ขึ้นไปบนเครื่องแล้วก็หาที่นั่งให้เจอและเข้าที่นั่งให้เรียบร้อย

6. ข้อควรปฎิบัติเมื่ออยู่บนเครื่อง และการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน
เมื่อถึงที่นั่งของเราแล้ว สิ่งที่ควรจะทำคือ จัดกระเป๋าสัมภาระสิ่งของที่เราถือขึ้นเครื่องไปเก็บไว้ในที่ๆ เหมาะสม ได้แก่ บนช่องเก็บของเหนือศีรษะ หรือที่ช่องวางเท้าใต้เบาะข้างหน้าของเรา (เว้นแต่พอเครื่องจะขึ้นไม่มีคนนั่งข้าง อาจจะเอาไปใส่ช่องวางเท้าใต้เบาะของที่นั่งข้างๆ ก็ได้ เราจะได้นั่งสบายหน่อย)

เก็บกระเป๋าเสร็จ รัดเข็มขัดให้กระชับเรียบร้อย ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดว่าปิดเรียบร้อยแล้วหรือยัง รวมทั้งอุปกรณ์อิเลคทรอนิคอื่นๆ เช่น เครื่องเล่น MP3 / DVD / CD รวมทั้ง Notebook ด้วย
สำหรับกล้องดิจิตอลนั้น เป็นเรื่องที่เถียงกันแทบเป็นแทบตายในแวดวงการบิน เป็นสิ่งที่คนสนับสนุนแต่ละข้างก็เถียงหัวชนฝา ฝ่ายนึงบอกว่าใช้ไม่ได้เพราะจะเป็นการรบกวนการบิน แต่อีกฝ่ายนึงบอกว่าใช้ได้เพราะไม่ได้มีการส่งสัญญาณอะไร อีกอย่างนึงก็ไม่เคยปรากฎว่าเคยมีเหตุการณ์เครื่องบินตกเพราะการรบกวน ของกล้องถ่ายรูปสักที

สิ่งที่ต้องระวังมากๆ ในการถ่ายรูปตอนเครื่องขึ้นลงก็คือ เครื่องบินจะสั่นมากๆ ถ้าเอากล้องไปใกล้หน้าต่างเกินไป เลนส์อาจจะโขกกับหน้าต่างได้ แต่ถ้าห่างเกินไปก็จะติดขอบหน้าต่างหรือไม่ก็กลายเป็นถ่ายตัวหน้าต่างแทน

ก่อนเครื่องจะขึ้น แอร์จะบอกให้เราตั้งเบาะให้ตรง (ปกติมันตรงไว้อยู่แล้ว ก็อย่าเพิ่งทะลึ่งไปปรับเอนลง) เก็บที่วางถาดอาหารให้เข้าที่ และหน้าต่างต้องเปิดม่านขึ้นจนสุด ทั้งนี้เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย

นอกจากนั้นก่อนเครื่องเทคออฟ เค้าจะมี Safety Demo ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับระบบทั่วไปของเครื่องบิน และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ขอให้ให้ความสนใจกับคำแนะนำนี้ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า

เมื่อนั่งที่นั่ง ให้ดูว่าตำแหน่งที่เรานั่งไปจนถึงตำแหน่งทางออกฉุกเฉินนั้นห่างกันแค่ไหน มีที่นั่งกั้นไว้กี่ที่ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วไฟดับ เราอาจจะต้องใช้วิธีนับเบาะเพื่อให้ไปถึงประตูฉุกเฉินได้ง่ายที่สุด

ตามสถิติแล้วช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในการเดินทางทางเครื่องบินก็คือช่วง ที่เครื่องขึ้นหรือลง อุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้นจึงต้องให้ความสนใจกับความเป็นไปให้มาก และพร้อมจะปฏิบัติการหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น  เมื่อเครื่องอยู่ในสถานะที่สั่นมาก กัปตันจะเปิดไฟรัดเข็มขัด หมายความว่าให้รัดเข็มขัดและนั่งอยู่กับที่อย่าหนีไปไหน จนกว่าไฟจะดับ

ก่อนเครื่องจะถึงปลายทาง เค้าจะแจกแบบฟอร์มให้สองฟอร์ม ฟอร์มนึงสำหรับกรอกเรื่องการเดินทางเข้าประเทศ และอีกฟอร์มนึงเกี่ยวกับสุขภาพและการดีแคลร์สิ่งของ ผมไม่มีตัวอย่างให้ ถ้าฟอร์มที่สายการบินแจกไม่มีภาษาไทย เมื่อไปถึงสนามบินสามารถขอใหม่ที่เป็นภาษาไทยได้

สำหรับตอนเครื่องลงก็เหมือนกันกับตอนขึ้น คือต้องปรับที่นั่งให้เรียบร้อย พับถาดใส่อาหารให้เข้าที่ เปิดหน้าต่าง รวมทั้งเก็บข้าวของไว้ในที่ๆ เหมาะสมเหนือหัวหรือที่วางเท้าใต้ที่นั่งข้างหน้าเรา และที่สำคัญที่สุดคือเข็มขัดนิรภัยจะต้องรัดให้เรียบร้อย

7. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า
ผมคิดว่าสนามบินในออสเตรเลียน่าจะเหมือนๆ กันทุกที่ในเรื่องของการเข้าเมือง นั่นคือ พอมาถึงปุ๊บ ก็จะผ่านร้านขายของหาเงินเข้าประเทศก่อน เอ๊ย ไม่ใช่ อิอิ ผ่านด่านตรวจพาสปอร์ตก่อน แต่ว่าก่อนจะถึงด่าน ก็จะมีพื้นที่ให้เราสามารถนั่งกรอกเอกสารขาเข้าและดีแคลร์อะไรต่างๆ

เราไปเข้าแถวตรงที่เขียนว่า Other Passport Holders เตรียมเอกสารคล้ายๆ กับตอนขาออก ยื่นพาสปอร์ตให้เค้า หากไม่มีปัญหาอะไรก็จะผ่านมาถึงขั้นตอนรับกระเป๋าคืน เราก็เดินไปรับกระเป๋า

8. การรับกระเป๋าเดินทางจากสายพาน
การรับกระเป๋าคืนก็ไม่มีอะไรมาก แค่ไปยืนเฝ้าที่สายพานให้ตรงกับที่จอระบุว่าเป็นเที่ยวบินของเรา รอจนกระเป๋าเราวนมาถึงแล้วก็ค่อยหยิบไป

9. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาเข้า
ได้กระเป๋ามาแล้วก็ผ่านด่านรักษาความปลอดภัยขาเข้า ซึ่งก็คล้ายๆ ขาออก แต่คราวนี้เค้าจะไม่สนใจเรื่องของเหลวแล้ว แต่จะสนใจเรื่องของที่เรานำเข้าประเทศว่ามีของต้องห้ามบ้างรึเปล่า โดยทั่วไป จะมีช่องสำหรับคนที่ระบุว่ามีของ Declare กับช่องทั่วไป ก็เลือกเข้าให้ถูกช่อง แต่ถ้าไม่มีให้เลือกเข้า ก็เข้าๆ ไปเหอะ จะมีเจ้าหน้าที่มายืนดักปากทาง ดูใบที่เรากรอก แล้วจะบอกว่าเราต้องไปไหน พอถึงที่ตรวจสิ่งของ เค้าจะดูใบของเราว่ามีของอะไรต้องห้ามหรือไม่ ถ้าบอกว่ามีอาหารจะถามว่ามันคืออะไร อาจจะขอให้เราเปิดให้ดู ซึ่งเสียเวลา ดังนั้นขอแนะนำว่าของกินไม่ต้องเอามาเพื่อให้ทุกอย่างมันราบรื่น

หากไม่มีอะไรผิดสำแดง เราก็จะผ่านด่านตรวจสิ่งของ และต้องเดินผ่านร้านขายของหาเงินเข้าประเทศอีกแล้ว  ระยะทางประมาณสามร้อยกิโลกว่าจะถึงทางออกได้

ถึงทางออก ก็เป็นอันว่ามาถึงออสเตรเลียโดยสมบูรณ์ มองหาคนมารับได้แล้วจ้า ใครนัดเจอกันหน้าประตูก็เจอกันหน้าประตู ใครนัดเจอกันที่อื่นก็ไปหาที่นัดเจอกันตามอัธยาศัย

ที่มาขอข้อมูล http://aussiethai.com

****************************************************************

รายละเอียดในการตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

(Click to see large image)

เพื่อความสะดวกต่อท่านผู้โดยสารในการเข้ารับการตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขอแนะนำท่าน ดังนี้

1.ก่อนเข้ารับการตรวจบัตรโดยสารหรือเช็คอิน (Check-In)

1.1 นำของเหลว เจล และสเปรย์ หรือวัสดุอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีขนาดบรรจุภัณฑ์เกินกว่า 100 มิลลิลิตร รวมทั้งวัตถุแหลมคม ทุกชนิดใส่ในกระเป๋าสัมภาระที่จะผ่านเช็คอินเพื่อลำเลียงส่งขึ้นเครื่องบิน

1.2 หากต้องการนำ ของเหลว เจล สเปรย์ ถือติดตัวขึ้นบนเครื่องบิน ของเหลวนั้น ต้องมีขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร โดยต้องนำใส่ไว้ในถุงพลาสติกใสแบบ Zip-Lock ขนาด 20×20 เซนติเมตร (มีจัดเตรียมไว้ที่โต๊ะหน้าเคาน์เตอร์เช็คอิน) ผูโดยสาร 1 คน ต่อ 1 ถุง ปริมาณของเหลวเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร (หรือ 1 ลิตร)

1.3 ผู้โดยสารที่มีอาวุธปืนต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน ณ เคาน์เตอร์เช็คอิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบเอกสารและแยกเครื่องกระสุน ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้

1.4 ผู้โดยสารไม่ได้รับอนุญาตให้นำพาสารหรือวัตถุอันตรายทุกชนิดไปกับเครื่องบิน ไม่ว่าจะบรรทุกไปกับสัมภาระที่เช็คอินหรือนำติดตัวขึ้นเครื่องบิน

2. เมื่อ Check-In เสร็จแล้ว

2.1 เมื่อผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศเช็คอินเสร็จแล้ว จะต้องเข้ารับการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Passport Control) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขอความร่วมมือผู้โดยสารที่ต้องไปขึ้นเครื่องบินที่ ประตูทางออกขึ้นเครื่องบิน (Gate) C1-C10 และ D1-D4 ให้เข้าช่องทางตรวจหนังสือเดินทางด้านหลังเคาน์เตอร์เช็คอิน Row K-L ส่วนผู้โดยสารที่ต้องขึ้นเครื่องบินที่ประตูทางออกขึ้นเครื่องบิน (Gate) D5-D8, E1-E10, F1-F6 และ G1-G5 ให้เข้าช่องทางตรวจหนังสือเดินทางด้านหลังเคาน์เตอร์เช็คอิน Row T-U

3. การตรวจค้น

3.1 เมื่อผ่านการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแล้ว ผู้โดยสารจะเข้าสู่ขั้นตอน การตรวจค้น เพื่อการรักษาความปลอดภัย เริ่มจากการเตรียมบัตรโดยสาร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

3.2 ให้ผู้โดยสารนำกระเป๋าที่ถือติดตัวใส่ถาดเพื่อเข้าเครื่อง X-Ray หากท่านใดมีคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop) เสื้อแจ็กเก็ต เข็มขัด และถุง Zip-Lock บรรจุของเหลวให้แยกต่างหากและใส่อีกถาดหนึ่งเพื่อเข้าเครื่อง X-Ray

ผู้ โดยสารอาจถูกขอให้ถอดรองเท้า เพื่อนำไปตรวจด้วยเครื่อง X-Ray ทั้งนี้ ได้มีการจัดเตรียมรองเท้ากระดาษ พร้อมทั้งถาด ใส่รองเท้าไว้ให้บริการ

3.3 สำหรับตัวผู้โดยสารให้เดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะ ผู้โดยสารท่านใดที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) หรือกำลังตั้งครรภ์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด้านหน้าจุดตรวจค้นเพื่อผ่านเข้าช่องทางเฉพาะ และรับการตรวจค้นร่างกายด้วยมือ

3.4 ผู้โดยสารที่เดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะแล้วเกิดสัญญาณเตือน ผู้โดยสารต้องเดินกลับออกไป เพื่อตรวจซ้ำอีกครั้งว่า ยังมีสิ่งของที่เป็นโลหะหลงเหลืออยู่หรือไม่ หากพบว่ามีให้นำสิ่งของใส่ ลงในถาดที่จัดเตรียมไว้ผ่านเครื่อง X-Ray และเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะเป็นครั้งที่ 2

3.5 กรณีที่ผู้โดยสารเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะเป็นครั้งที่ 2และยังมีสัญญาณเตือน เจ้าหน้าที่จะเชิญให้ผู้โดยสารพักรอในพื้นที่ ที่จัดไว้ และเจ้าหน้าที่ตรวจค้นจะมารับไปทำการตรวจค้นร่างกาย เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เครื่องตรวจจับโลหะส่งสัญญาณ

3.6 เมื่อผู้โดยสารได้รับการตรวจค้นร่างกายและสัมภาระทุกขั้นตอนแล้ว จะสามารถไปรอขึ้นเครื่องบินได้

ผู้โดยสารที่ปฏิเสธการตรวจค้นไม่ว่าจะเป็นการตรวจค้นกระเป๋าสัมภาระหรือการตรวจค้นร่างกายและปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านจุดตรวจค้น เพื่อไปขึ้นเครื่องบิน

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ

ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 0-2132-1888

ศูนย์บริการทางโทรศัพท์การบินไทย 0-2356-1111

บริการติดตามสัมภาระท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 0-2132-1880 , 0-21321890

บริการรับฝากกระเป๋า 0-2134-7795-6

ตำรวจท่องเที่ยว 0-2135-1155 , 0-2134-4070

บริการรถโดยสารบุคคลลีมูซีน 0-2134-2323-5

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 0-2134-4079

โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ 0-2131-1111

ห้องรับรองบุคคลทั่วไป (CIP) 08:00 – 17:00 น. 0-2132-9371

ห้องรับรองบุคคลทั่วไป (CIP) 17:00 – 08:00 น. 0-2132-0168

ที่มา http://www.suvarnabhumiairport.com/security_information.php

 

 

USEFUL AIRPORT NUMBERS

Suvarnabhumi Airport Call Center                       02 132-1888

Help Desk                                                         02 132-3888

Flight Information                                              02 132-0000

Airport Information Counter ( Departures )           02 132-9324-7

Airport Information Counter ( Arrivals )                02 132-9328-9

Airport Operation Duty Officer                           02 132-4101

Emergency / Security Service                            02 132-1911

Fire Department                                                02 132-9911

Airport Medical Center                                       02 132-7777

Security center                                                 02 132-6596-9

The transport Call Center                                    02 578-5599

Bangkok International Airport                              02 535-1111

Arrivals                                                             02 585-1149, 02 535-1301

Departures                                                        02 535-1254, 02 535-1386

Domestic                                                          02 535-1253

Information                                                       02 535-2846-7, 02 535-2081-2

Timetable                                                          1566

South Africa World Cup 2010

Vodpod videos no longer available.

London in the rain

Vodpod videos no longer available.

more about “London in the rain“, posted with vodpod

การเปลี่ยนแปลงของวีซ่านักเรียนเทียร์ 4

การเปลี่ยนแปลงของวีซ่านักเรียนเทียร์ 4 (Tier 4 Student Visa) (18/02/2010)

ตามประกาศของนายกรัฐมนตรีอังกฤษเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 เรื่องการทบทวนเกี่ยวกับ Tier 4 (วีซ่านักเรียนภายใต้ระบบฐานคะแนน เพื่อการควบคุมการย้ายถิ่น)

ข้าพเจ้าขอประกาศชุดมาตรการที่เหมาะสมและมีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อที่จะป้องกันและหยุดยั้งการเข้าเมืองของผู้ต้องการย้ายถิ่นที่มุ่งผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยใช้ประโยชน์จากวีซ่านักเรียน Tier 4 และในขณะเดียวกันก็มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนต่างชาติที่มีความตั้งใจจริง ได้เข้ามาศึกษาต่อในระบบการศึกษาที่มีมาตรฐานระดับโลกของสหราชอาณาจักร และเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรไปพร้อม ๆ กัน

มาตรการที่จะกล่าวต่อไปนี้ มุ่งเน้นใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา (Adult students) ที่เข้ามาศึกษาต่อในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเข้ามาเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ โดยที่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตรการรใดๆที่ใช้กับนักเรียนที่เข้ามา ศึกษาในหลักสูตร พื้นฐานเพื่อเตรียมตัวเรียนปริญญาตรี ปริญญาตรี หรือสูงกว่าปริญญาตรี และ หลักสูตรสำหรับเด็กนักเรียน (Child students) ที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนเอกชนต่าง ๆ (แต่จะมีการลดจำนวนชั่วโมงการทำงานที่อนุญาตให้นักเรียนอายุ 16-17 ปี สามารถทำงานได้เป็น 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะไม่กระทบต่อกลุ่มนักเรียนที่กล่าวมา

การทบทวนในครั้งนี้มุ่งเน้นให้เห็นปัญหาว่า มีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในสหราชอาณาจักร อย่างแท้จริง แต่มีความต้องการใช้วีซ่านักเรียนชนิด Tier 4 เพื่อเข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังรวมถึงกรณีที่ผู้ถือซ่าติดตามนักเรียนได้รับอนุญาตให้ทำงานในสห ราชอาณาจักรมาโดยตลอด ขณะที่นักเรียนได้รับอนุญาตให้ทำงานได้บ้างในระหว่างภาคการศึกษาเพื่อช่วย เหลือตนเองทางด้านการเงินนั้น เราต้องมีหลักประกันว่า การอนุญาตให้ทำงานได้ในขณะเรียนนั้น ไม่ถูกนำไปใช้โดย ผู้ต้องการย้ายถิ่นที่มุ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นหลัก

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงขอประกาศเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์การตรวจคนเข้าเมืองดังต่อไปนี้:

* ลดจำนวนชั่วโมงที่อนุญาตให้นักเรียนทำงานได้ในระหว่างภาคเรียน จากเดิม 20 ชั่วโมง เป็น 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

* ยกเลิกสิทธิในการมีผู้ติดตามของนักเรียนที่เรียนหลักสูตร 6 เดือนหรือน้อยกว่า 6 เดือน

* ยกเลิกการอนุญาตที่เคยให้ผู้ติดตามนักเรียนมีสิทธิ์ทำงานได้ ยกเว้นว่าผู้ติดตามผู้นั้นจะมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะขอวีซ่า ที่จะทำงานได้ในระดับวีซ่าเทียร์ 1 ทั่วไป (Tier 1 General) ในฐานะ ‘ผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะสูง’ (Highly Skilled Migrant) หรือในระดับเทียร์ 2 ทั่วไป (Tier 2 General) ในฐานะ ‘แรงงานที่มีทักษะ’ (Skilled Worker) ในฐานะ ‘นักกีฬา’ (Sportsperson) หรือ ‘นักบวชในศาสนา’ (Minister of Religion)

การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป และคำร้องขอวีซ่านักเรียน Tier 4 ทุกฉบับที่ยื่นในวันที่ 3 มีนาคม 2553 หรือหลังจากวันดังกล่าว จะต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ใหม่นี้อย่างเคร่งครัด

ข้าพเจ้าขอประกาศเพิ่มเติมด้วยว่า นับจากวันที่ 3 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป ในส่วนของหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษนั้น หลักสูตรขั้นต่ำที่นักเรียน Tier 4 จะสมัครเข้าเรียนได้ จะเปลี่ยนไปเป็นระดับสูงขึ้น จากระดับ A2 ไปเป็น B2 ตาม Common European Framework of Reference (CEFR) (กรอบอ้างอิงร่วมของยุโรป) โดยระดับ B2 นี้เทียบได้กับระดับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น (GCSE) โดยประมาณ ทั้งนี้เพื่อมั่นใจได้ว่ากฏเกณฑ์ใหม่ของนักเรียน Tier 4 นี้ จะสามารถลดจำนวนผู้ต้องการย้ายถิ่นเพื่อแสวงหางานทำที่แอบแฝงเข้ามาเรียน หลักสูตรภาษาอังกฤษ ซึ่งมีข้อกำหนดในการสมัครเรียนไม่ย่งยาก อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นให้กับนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งได้แก่ นักเรียนทุนรัฐบาลและนักเรียนที่จะเข้ามาเรียนภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อ เตรียมตัวเรียนต่อในระดับปริญญา

ในอนาคตเราต้องการที่จะปรับปรุงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อสอบ มาตรฐานที่ใช้วัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียน ที่สมัครเข้าเรียนภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน ขณะนี้กำลังทบทวนหลักเกณฑ์ที่จะรับรองมาตรฐานของ ‘ผู้จัดสอบที่ผ่านการรับรอง’ (Approved Providers) ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในการจัดสอบภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน Tier 4 ประมาณช่วงต้นของฤดูร้อน

การทบทวนดังกล่าว ได้พิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับระดับและประเภทของหลักสูตรที่นักเรียนต่าง ชาติสามารถสมัครเรียนได้ โดยการขอวีซ่า Tier 4 ภายใต้ระบบฐานคะแนน ซึ่งได้ข้อสรุปว่ามีการเปลี่ยนแปลงในหลายประการดังนี้

ประการที่หนึ่ง ในการทบทวนข้างต้น มีความเห็นว่าเป็นการไม่ถูกต้องที่นักเรียนที่เข้ามาศึกษาในหลักสูตรต่ำกว่า ระดับปริญญาตรี แต่เป็นผู้มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ ฉะนั้นต่อไป นักเรียนกลุ่มนี้ รวมทั้งนักเรียนที่จะเข้ามาเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษเช่นกัน จะต้องเข้าสอบเพื่อวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่ศูนย์จัดสอบ ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งที่ผ่านการรับรองของเรา นักเรียนเหล่านั้นจะต้องมีระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่างต่ำที่ระดับB1 ตามมาตรฐาน Common European Framework of Reference (CEFR) การจัดให้มีการสอบดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการในช่วงต้นฤดูร้อน

ประการที่สอง สำหรับหลักสูตรในระดับต่ำกว่าที่กล่าวมา และหลักสูตรที่มีการฝึกงานรวมอยู่ด้วยนั้น รัฐบาลได้แสดงความประสงค์ในการจัดลำดับความน่าเชื่อถือของกลุ่มสปอนเซอร์ (Sponsor) ประเภทใหม่ ที่เรียกว่า ‘Highly Trusted Sponsor’ (สปอนเซอร์/สถานศึกษาที่ได้รับความเชื่อถือสูง) ภายใต้ระบบฐานคะแนน ภายหลังจากการประชุมหารือกับสถานศึกษาต่างๆ แล้ว จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะใช้รับรองว่า สถานศึกษาใดจะจัดอยู่ในประเภท ‘ได้รับความน่าเชื่อถือสูง’ หลักเกณฑ์ การวัดระดับนี้จะเริ่มใช้ในวันที่ 6 เมษายน 2553 ในระยะต้น สถานศึกษาของรัฐบาลทุกแห่ง จะได้รับการรับรองว่าเป็น ‘สปอนเซอร์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง’ แต่อาจถูกยกเลิกการรับรองได้โดยUK Border Agency (สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแห่งสหราชอาณาจักร) หากมีลักษณะไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว สำหรับสถานศึกษาเอกชนทั้งหลายนั้น จะต้องยื่นใบสมัครเพื่อวัดระดับความน่าเชื่อถือนี้ต่อUK Border Agency

จากการทบทวนเกี่ยวกับ Tier 4 ข้างต้น นับจากวันที่ 6 เมษายน 2553 เป็นต้นไป เฉพาะสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองว่าน่าเชื่อถือสูงเท่านั้น ที่สามารถเปิดการสอนหลักสูตรต่าง ๆ ในระดับ National Qualifications Framework Level 3 (และหลักสูตรในระดับเทียบเท่า)และหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาตรีทที่มีการ ฝึกงานรวมอยู่ด้วยได้ เนื่องจากหลักสูตรกลุ่มนี้จะอยู่ในความสนใจอย่างยิ่ง ของผู้ต้องการย้ายถิ่นเพื่อหางานทำ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าสถานศึกษาที่มี ประวัติการดูแลนักเรียนให้ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์อย่างเคร่งครัดเท่านั้น จึงสมควรได้รับอนุมัติให้เปิดดำเนินการสอนได้

มาตรการต่าง ๆ ข้างต้นนี้ จะช่วยให้รัฐบาลกำกับดูแลวีซ่านักเรียนชนิด Tier 4 ได้ดีขึ้น ขณะกันมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อนักเรียนที่ประสงค์จะเข้ามาเรียนอย่างแท้จริง

ประกาศโดย  สถานทูตอังกฤษ กรุงเทพ

http://ukinthailand.fco.gov.uk/th/news/?view=PressR&id=21780044

กรณีนักเรียนไทย 51 คน ในไมอามีถูกจับกุมตัว

กระทรวงการต่างประเทศได้รับ รายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ว่าเมื่อวันที่ 2 และ 3 มีนาคม 2553 นักเรียนไทยในเมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดาจำนวน 51 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐฯ จับกุมตัวด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง เนื่องมาจากนักเรียนไทยกลุ่มดังกล่าวได้ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษที่ โรงเรียนสอนภาษา Florida Language School ซึ่งละเมิดกฎระเบียบเกี่ยวกับสถานศึกษาตามกฎหมายของสหรัฐฯ กล่าวคือ ไม่เข้มงวดให้นักเรียนผู้ได้รับสถานะการตรวจลงตราประเภทเอฟ 1 (วีซ่า F-1) ซึ่งต้องเป็นนักศึกษาเต็มเวลา (Full-Time Student) ไปเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยในขณะนี้โรงเรียนสอนภาษาดังกล่าวได้ถูกปิดลงไปแล้ว สำหรับนักเรียนที่ถูกจับกุมในครั้งนี้นอกจากนักเรียนไทยแล้ว ยังมีนักเรียนชาติอื่นๆ ด้วย รวมทั้งหมดประมาณ 100 คนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้ประสานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐฯ และได้รับแจ้งว่าขณะนี้นักเรียนไทยทั้ง 51 คน ยังอยู่ในความดูแลของหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐฯ และทางการสหรัฐฯ ยังไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยมีกำหนดที่จะพบผู้พิพากษา (Immigration Judge) เพื่อพิจารณาคดีเป็นรายบุคคลในลำดับต่อไป ทั้งนี้ นักเรียนอาจขอเดินทาง กลับประเทศไทยโดยสมัครใจ หรือจะอยู่ต่อสู้คดีต่อไปได้ อย่างไรก็ดี หากเป็นคดีที่ซับซ้อนมาก ศาลจะไม่อนุญาตให้ประกันตัวและจะตัดสินในขั้นตอนต่อไป สำหรับนักเรียนผู้อยู่ในข่ายถูกจับกุมตัวแต่ยังไม่ถูกจับนั้น ควรเดินทางกลับประเทศไทยในโอกาสแรกเพื่อจะได้ไม่ถูกจับกุมตัวดำเนินคดี ทั้งนี้ ขอให้แจ้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน (เบอร์โทรศัพท์ +1 202 944 3600) ทราบเพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปกระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งเตือนคนไทยที่ต้องการไปศึกษาต่อที่ สหรัฐฯ ให้เพิ่มความระมัดระวังในการคัดเลือกโรงเรียนสอนภาษาที่มีคุณภาพและปฏิบัติ ตามกฎหมายสถานศึกษาของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัด อีกทั้ง สำหรับคนไทยที่พำนักอาศัยในสหรัฐฯ นั้น ควรเลือกใช้ประเภทการตรวจลงตราให้ถูกจุดประสงค์ของการพำนักเพื่อหลีกเลี่ยง การละเมิดกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ และถูกจับกุมในที่สุด

(5 มีนาคม 2553)


แรงงานไทยภาคการเกษตรถูกจับกุมที่ประเทศโปแลนด์

กระทรวงการต่างประเทศได้รับ รายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอว่า เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับแจ้งจากแรงงานไทย 20 คน (หญิง 18 คน ชาย 2 คน) ว่าถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (Border Guard) โปแลนด์จับกุม จากการตรวจสอบพบว่าแรงงานกลุ่มนี้ได้เดินทางไปทำงานที่ประเทศโปแลนด์โดย ผ่านบริษัทจัดหางานในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2552 โดยมีสัญญาจ้าง 1 ปี และถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโปแลนด์จับกุมเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ที่เมือง Zielona Gora ในข้อหาไม่มีใบอนุญาตทำงาน และทำงาน ข้ามเขต โดยใบอนุญาตทำงานระบุสถานะงานว่า เป็นงานแปรรูปผลไม้ (Fruit Processing) แต่บริษัทฯ นำไปทำงานในฟาร์มเห็ดแรงงานไทยทั้งหมดได้ถูกนำขึ้นศาลปกครองประจำจังหวัด Lubuskie เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553 และมีคำพิพากษา (Administrative Order) ให้หน่วย Border Guard ดำเนินการส่งตัวแรงงานกลุ่มนี้กลับประเทศไทยให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยแรงงานไทยถูกแยกขัง 3 แห่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยดังกล่าว โดยส่งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศูนย์กักกันเมื่อวันที่ 22, 27 และ 28 กุมภาพันธ์ 2553สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แจ้งให้ทางการโปแลนด์ทราบว่า แรงงานไทยที่ถูกจับกุมได้เดินทางเข้าไปทำงานในประเทศโปแลนด์อย่างถูกต้องตาม กฏหมาย ภายใต้สัญญาจ้างกับบริษัทจัดหางานของโปแลนด์ และถูกส่งไปทำงานยังแหล่งงานต่าง ๆ ตามที่มีผู้ว่าจ้าง หากมีความผิดฟลาดเกิดขึ้น ย่อมเป็นความผิดของบริษัทฯ ไม่ใช่เป็นความผิดของแรงงานไทย แรงงานไทยจึงกลายเป็นเหยื่อของบริษัทนายหน้าชาวโปแลนด์ที่จัดหางานเพื่อ เรียกค่านายหน้าแล้วพาไปเร่ร่อนหางานทำโดยไม่มีงานเป็นหลักแหล่งอย่างแท้ จริง

หน่วย Border Guard โปแลนด์ กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อฟ้องร้องบริษัทจัดหางานของโปแลนด์ ฐานทำผิดกฏหมายแรงงานโปแลนด์ในกรณีดังกล่าว สำหรับแรงงานไทยที่ถูกจับกุมคาดว่าจะถูกส่งตัวกลับประเทศไทยภายในสัปดาห์แรก ของเดือนมีนาคม 2553

(3 มีนาคม 2553)



กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดกระบี่

ด้วยกรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่ง หน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง ประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 5 – 9 มีนาคม 2553 เวลา 08.00-16.30 น. ณ มัสยิดกลางจังหวัดกระบี่
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(18 กุมภาพันธ์ 2553)

นักธุรกิจไทยถูกหลอกลวงให้ซื้อสินแร่ทองคำและเพชรในประเทศเคนยา

กระทรวงการต่างประเทศได้รับ รายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบีว่า นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 เป็นต้นมา มีนักธุรกิจไทยหลายรายถูกคนสัญชาติในทวีปแอฟริกาหลอกลวงให้ซื้อสินแร่ทองคำ และเพชรจนทำให้ต้องสูญเสียเงินแล้วหลายแสนดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับในประเทศเคนยามีแหล่งหลอกลวงขายสินแร่ทองคำอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ที่แผนกคลังสินค้า สนามบินนานาชาติกรุงไนโรบี (Jomo Kenyatta International Airport) และในย่านใจกลางกรุงไนโรบี โดยมีวิธีการหลอกลวงขายสินแร่ทองคำทั้งในรูปแบบของการหลีกเลี่ยงการส่งมอบ สินค้า และการให้สินค้าปลอมกระทรวงการต่างประเทศจึงขอเตือนให้นักธุรกิจไทยที่เกี่ยวข้องกับ การค้าสินแร่ทองคำและอัญมณีเพิ่มความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณในการทำ ธุรกิจกับกลุ่มคนต่างชาติที่ไม่รู้จักคุ้นเคยมาก่อน

(16 กุมภาพันธ์ 2553 )


แจ้งข่าว ระบบสำรองคิวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว

เช้าวันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ตั้งแต่เวลา 1.30-5.00 น. ระบบสำรองคิวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว เนื่องจากตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการ Switching ของอุปกรณ์ DWDM

(17 กุมภาพันธ์ 2553 )


โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกับหน่วยประสานงาน
เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย (TRAFCORD)

กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คน ไทยในต่างประเทศได้เดินทางไปร่วมโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์กับ TRAFCORD สำนักงานพัฒนาสังคมจังหวัดแม่ฮ่องสอนและมูลนิธิ ZOE ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในระหว่างวันที่ 26 – 29 มกราคม 2553 โดยการจัดเวทีชุมชนเพื่อให้ความรู้ ในเรื่องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างไรให้ปลอดภัยจาก “ขบวนการค้ามนุษย์” โดยสรุปการดำเนินการขอโครงการดังกล่าว ดังนี้1. วันที่ 26 มกราคม 2553 มีการจัดเวทีชุมชนดังกล่าว ณ ห้องประชุม อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีหัวหน้าชุมชน คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮี้ และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประชุมจำนวน 191 คน การดำเนินกิจกรรมเริ่มด้วยการบรรยายของนายศุภณัฐ อุทัยศรี เจ้าหน้าที่ TRAFCORD ได้กล่าวถึงนิยามและสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย จากนั้นนางสาวเดือน วงษา ผู้จัดการโครงการ TRAFCORD ได้บรรยายเกี่ยวกับการทำงานของ TRAFCORD และหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของ TRAFCORD ต่อด้วยการบรรยายของนางสาวรัชนก เป็งแก้ว นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการสำนักงานพัฒนาสังคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของขบวนการค้ามนุษย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่ามีหลาก หลายรูปแบบเปลี่ยนไปตามสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยมีการนำเด็กหรือหญิงจากภาคอื่นๆ เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในพื้นที่ภาคเหนือในรูปแบบต่างๆ เช่น การย้ายถิ่น การลักลอบเข้าเมือง การบังคับใช้แรงงาน เป็นต้น และให้ความรู้เกี่ยวกับการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และสถานที่ที่สามารถติดต่อให้ข้อมูลต่างๆ และแจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบนอกจากนั้นยังมีการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “การเดินทางไปต่างประเทศอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์” โดยเริ่มต้นด้วยภาพรวมของภารกิจของกรมการกงสุล ต่อด้วยภารกิจของกองคุ้มครองฯ จากนั้นจึงได้เข้าสู่ประเด็นการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศอย่างปลอดภัยและ ถูกต้องตามกฎหมาย โดยชี้แจงว่า

การเดินทางไปทำงานในต่างประเทศจะกระทำได้ 5 วิธี
1. รัฐจัดส่งไปในขณะนี้มีเพียงประเทศเดียว คือ เกาหลีใต้ ที่แรงงานจะไม่ต้องเสียค่าหัว แต่จะเสียค่าบริการต่างๆ รวมทั้งค่าบัตรโดยสารเครื่องบินประมาณ 70,000 – 80,000 บาท โดยติดต่อที่จัดหางานจังหวัด หรือกรมการจัดหางานเท่านั้น
2. บริษัทจัดหางานจัดส่ง โดยเน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมทราบถึงความคุ้มค่าของเงินที่ต้องจ่ายค่าหัวเมื่อ เปรียบเทียบกับเงินเดือนหลักหักค่าใช้จ่ายประจำต่างๆ ตลอดจนให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมว่าจะสามารถตรวจสอบว่าเป็นบริษัทที่ถูกต้อง หรือไม่เช่นไร สัญญาจ้างงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสัญญาจ้างจะระบุเงินเดือน สวัสดิการ และรายละเอียดของการทำงาน
3. การเดินทางไปทำงานด้วยตนเอง โดยมีญาติหรือคนรู้จักในต่างประเทศหางานให้ (โดยเฉพาะอย่างที่มาเลเซีย) นายจ้างไปต่างประเทศต้องนำสัญญาจ้างไปให้สถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ตรวจสอบ สัญญาจ้างก่อน จากนั้นผู้เดินทางจึงนำสัญญาจ้างไปขออนุญาตจากสำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่อเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และควรสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศด้วย เพื่อคุ้มครองในกรณีถูกทอดทิ้ง เจ็บป่วย เสียชีวิต
4. บริษัทนายจ้างในประเทศไทยส่งไปฝึกงานในต่างประเทศ
5. บริษัทนายจ้างในประเทศไทยส่งไปทำงานในต่างประเทศ

ภัยของการสมรสกับชาวต่างชาติ
เนื่องจากปัจจุบันมีหญิงไทยที่จดทะเบียนสมรสกับชายชาวต่างชาติมากขึ้น โดยผ่านบริษัทจัดหาคู่ เช่น เกาหลี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนา นอกจากนั้นยังมีกรณีที่ชายชาวต่างชาติที่สูงอายุหรืออยู่ในวัยเกษียณอายุ แล้วและมักจะเดินทางมาเพื่อหาหญิงไทยมาเป็นภรรยาเพื่อไว้ดูแลตนและทำงานบ้าน หรือบางรายถูกบังคับให้ไปขายบริการทางเพศ ดังนั้น หญิงไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติควรระมัดระวังในการหาคู่และใฝ่หาความรู้เพิ่ม เติมโดยต้องเรียนภาษา ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม และมีทักษะในการประกอบอาชีพด้วย
ภัยการค้ามนุษย์กรณีหลอกลวงไปทำงานร้านอาหาร (เด็กเสิร์ฟและแม่ครัว) และนวดแผนโบราณที่มาเลเซีย สิงคโปร์ แต่ถูกล่อลวงและบังคับให้ขายบริการทางเพศได้
สำหรับภัยจากขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติที่หาเหยื่อไว้ขนยาเสพติดข้ามชาติ โดยการชักจูง หรือล่อลวงให้เหยื่อชาวไทยเดินทางไปอินเดียหรือปากีสถานเนื่องจากเป็นประเทศ ที่ใกล้กับแหล่งผลิตคือ ประเทศอัฟกานิสถาน แต่เมื่อเดินทางไปถึงจะถูกบังคับให้กลืนหรือซุกซ่อนยาเสพติด (เฮโรอีน) ไว้ในร่างกาย บางรายเหยื่อไม่ทราบว่ามีการซุกซ่อนยาเสพติดไว้ด้านในของกระเป๋าเดิน ทางอย่างแนบเนียน จนกระทั่งถูกตรวจจับได้ที่สนามบิน หรือด่านศุลกากรของอินเดีย ปากีสถาน หรือที่ประเทศปลายทางที่จีน ปัจจุบันมีสตรีไทยถูกจับกุมดำเนินคดีที่สาธารณประชาชนจีนประมาณ 50 – 70 ราย และบางรายต้องโทษถึงประหารชีวิต หรือถูกจำคุกตลอดชีวิต ขบวนการดังกล่าวยังชักชวนหรือล่อลวงสตรีไทยให้ไปขนยาเสพติดประเภทโคเคน จากอเมริกาใต้มายังประเทศไทย ขณะนี้มีสตรีไทยถูกจับกุมดำเนินคดีหลายรายที่ประเทศอาร์เจนตินา บราซิล เอกวาเดอร์ เปรู

2. วันที่ 27 มกราคม 2553 ได้มีการจัดเวทีชุมชน ณ หมู่บ้านดอยผีลู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีผู้นำชุมชน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านปางแปก และชาวบ้านเผ่าลีซอ จำนวน 139 ราย เข้าร่วมรับฟังโดยมีนายศุภณัฐ อุทัยศนี เจ้าหน้าที่ TRAFCORD กล่าวแนะนำการทำงานของ TRAFCORD และบรรยายถึงผู้เสียหายหรือเหยื่อการค้ามนุษย์ และ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ จากนั้นได้มีการแสดงภาพสไลต์เกี่ยวกับรูปแบบการถูกบุคคล ที่แสวงหาผลประโยชน์พาไปบังคับให้ค้าประเวณี
3. วันที่ 28 มกราคม 2553 ได้มีการจัดเวทีชุมชน ณ หมู่บ้านดอยผีลู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีทหาร ผู้นำชุมชน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนดอยผีลู และชาวบ้านเผ่าลีซอจำนวน 188 ราย เข้าร่วมรับฟัง โดยมีนายศุภณัฐฯ และผู้อำนวยการกองคุ้มครองฯ ได้เข้าร่วมการบรรยาย
4. วันที่ 29 มกราคม 2553 ได้มีการจัดเวทีชุมชน ณ ห้องประชุมที่ว่าการ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีนายสร้างบุญ สุพพัตกุล ปลัดอำเภอ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนทองสวัสดิ์วิทยาคม โรงเรียนบ้านไร่วิทยา โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 193 (จอมแจ้งมิตรภาพ) โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ และประชาชน จำนวน 182 ราย เข้าร่วมรับฟัง โดยมีนายศุภณัฐฯ และผู้อำนวยการกองคุ้มครองฯ ได้เข้าร่วมบรรยาย
โครงการนี้ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากผู้นำชุมชน คณะครูและนักเรียน ชาวเขาเผ่าลีซอ และประชาชนทั่วไป โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวน 700 คน ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องภัยค้ามนุษย์ ปัญหาที่เกิดจากการเดินทางไปต่างประเทศโดยขาดความรู้และการเตรียมตัวที่ดี และจากการให้ผู้เข้าร่วมกรอกแบบสอบถามและประเมินผลการจัดโครงการฯ เห็นว่าผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ที่อำเภอเมืองปาย และอำเภอแม่สะเรียง ไม่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เนื่องจากกลัวถูกหลอกและมีความต้องการหางานทำในประเทศมากกว่า แต่ในส่วนคนบนพื้นที่สูงที่หมู่บ้านปางแปกและหมู่บ้านดอยผีลูยังคงนิยมส่ง บุตรสาวไปทำงานในมาเลเซียและสิงคโปร์อย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นการเดินทางไปให้ความรู้ในโครงการดังกล่าวจึงเป็นการทำให้ประชาชนได้ ตระหนักว่ากระทรวงการต่างประเทศให้ความสนใจและห่วงใยต่อสวัสดิภาพของประชาชน การให้ความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบถึงปัญหาและสามารถนำความรู้ที่ ได้รับไปใช้ประโยชน์เพื่อมิให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างผิดและหรือตก เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานอยู่ในส่วนกลางและสำนักภูมิภาคเพียงบางแห่ง แต่ก็พยายามให้ความสำคัญกับการสัมผัสและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนใน พื้นที่จังหวัดเสี่ยงต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสนองตอบต่อนโยบายการทูตเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

(15 กุมภาพันธ์ 2553)



กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร

ด้วยกรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่ง หน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง ประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08.00-16.30 น. ณ วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด และ จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 15 – 19 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08.00-16.30 น. ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด (หลังเก่า)
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(19 มกราคม 2553)

กระทรวงการต่างประเทศจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเฮติ

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2553 นายธีรกุล นิยม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานจัดการประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้ความ ช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติ โดยมีนายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ประสานงาน เข้าร่วมประชุมฯ ณ กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการประชุมฯ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ พร้อมด้วยปลัดกระทรวงฯ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้1. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติขยายวงเงินช่วยเหลือของไทยต่อเฮติจาก 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ และนางจารุวรรณ เทียมทัด เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก จะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมอบเงินช่วยเหลือดังกล่าวแก่ผู้แทนรัฐบาลเม็กซิโกและ ผู้แทนทางการทูตของเฮติประจำกรุงเม็กซิโก ที่กระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก กรุงเม็กซิโกซิตี้ ในวันที่ 20 มกราคม 2553 ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประสานกับฝ่ายเม็กซิโกในการจัดซื้อเวชภัณฑ์และสิ่งของจำเป็นเพื่อนำไปช่วย เหลือผู้ประสบภัยเฮติต่อไป2. คณะรัฐมนตรีอนุมัติข้าวจำนวน 20,000 ตัน เพื่อช่วยเหลือเฮติ โดยไทยจะดำเนินการส่งข้าวชุดแรกโดยเร็วที่สุด และกระทรวงฯ จะจัดการประชุมฯ เพื่อหารือเรื่องเส้นทางการจัดส่งข้าวต่อไป

3. ไทยพร้อมส่งทีมแพทย์ไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ ภายใต้กรอบการดำเนินการขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ

4. ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือต่อเฮติได้ตามช่องทาง ดังนี้

4.1 บริจาคผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี ทางบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “รวมน้ำใจชาวไทยช่วยผู้ประสบภัยเฮติ” เลขที่บัญชี 067-0-05765-7 สาขาย่อยทำเนียบรัฐบาล ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 1111 หรือสามารถบริจาคเงินได้ด้วยตัวเองที่จุดบริเวณลานน้ำพุ เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอก ระหว่างวันที่ 20 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2553 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

4.2 บริจาคผ่านทางบัญชีกระทรวงการต่างประเทศ ชื่อบัญชี “กระทรวงการต่างประเทศ” ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสามยอด เลขที่ บัญชี 002-6-18233-5 ประเภทบัญชี กระแสรายวัน

(20 มกราคม 2553)

กระทรวงการต่างประเทศเปิดศูนย์รวบรวมเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ

ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว รุนแรงทางตอนใต้ของประเทศเฮติ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่ของเฮติเป็นวง กว้าง นั้นกระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า เมื่อครั้งที่ประเทศไทยประสบเหตุธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) ประเทศไทยได้รับความเห็นใจและความช่วยเหลือจากประเทศนานาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ในกรณีนี้ประเทศไทยจึงควรเข้าร่วมกับนานาประเทศในการแสดงไมตรีจิตเพื่อให้ ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ตั้ง “ศูนย์รวบรวมเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ” โดยประชาชนทั่วไปที่ประสงค์จะบริจาคเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ สามารถบริจาคผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยโอนเงินเข้าบัญชีเพื่อรับบริจาคของกระทรวงการต่างประเทศ ตามรายละเอียดดังนี้

ชื่อบัญชี กระทรวงการต่างประเทศ
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสามยอด
ประเภทบัญชี กระแสรายวัน
บัญชีเลขที่ 002 – 6 – 18233 – 5
ที่อยู่ 632 ถนนมหาชัย วังบูรพาภิรมย์ กรุงเทพ 10200
Swift code KRTHTHBK

เงินที่ได้รับบริจาคจะส่งผ่านสหประชาชาติ และในเบื้องต้นจะขอรับบริจาคเป็นเงินเท่านั้น

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “ศูนย์รวบรวมเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ” สำนักนโยบายและแผน กระทรวงการต่างประเทศ โทร 0 2620 6460-2 โทรสาร 0 2620 6463 ระหว่างเวลา 8.30 -16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2553 เป็นต้นไป

(19 มกราคม 2553)

แจ้งข่าว สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา
แก้ไขหมายเลขโทรศัพท์กลางของานักสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์กลางเพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถโทรติดต่อ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง จากหมายเลข 02 3838401-4 เป็นหมายเลข 02 3838402-4
(15 มกราคม 2553)

การดำเนินการของไทยในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคนไทยในเฮติ

ตามที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง ทางตอนใต้ของประเทศเฮติและคาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินใน หลายพื้นที่ของเฮติเป็นวงกว้าง รวมถึงกรุงปอร์โตแปรงซ์ (Port-au-Prince) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบว่ามีคนไทยที่ อาศัยอยู่ในเฮติประสบภัยหรือได้รับผลกระทบใดๆ จากเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ ตามที่ประสานกับญาติในเบื้องต้นแล้ว พบว่าในชั้นนี้ทราบว่ามีคนไทย 4 คนที่อาศัยอยู่ในเฮติปลอดภัยดี
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้อนุมัติเงินจำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากงบประมาณการให้ความช่วยเหลือแก่มิตรประเทศที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยในเฮติในนามรัฐบาลไทย ขณะที่นายกรัฐมนตรีก็จะมีสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดีเฮติต่อโศกนา ฎกรรมที่เกิดขึ้นเช่นกัน
(14 มกราคม 2553)

ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ
เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว
ประจำสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี

(11 มกราคม 2553)

พิธีมอบเงินสิทธิประโยชน์ให้แก่ญาติของแรงงานไทย 5 ราย ที่เสียชีวิตในต่างประเทศ
ณ อาคารกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 นางสาวมธุรพจนา อิทธะรงค์ รองอธิบดีกรมการกงสุล เป็นประธานในพิธีมอบเงินสิทธิประโยชน์ให้แก่ญาติของแรงงานไทย 5 ราย ที่เสียชีวิตในต่างประเทศ ณ อาคารกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะรองอธิบดีกรมการกงสุลได้มอบเงินสิทธิประโยชน์ อันเป็นเงินที่คนไทยผู้เสียชีวิตในต่างประเทศพึงได้รับและเรียกร้องได้ให้ แก่ทายาทของแรงงานผู้เสียชีวิต 5 ราย ประกอบด้วย แรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ที่เสียชีวิตเนื่องจากหัวใจล้มเหลว 2 ราย และแรงงานไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถ ยนต์ 3 ราย ทั้งนี้ จำนวนเงินสิทธิประโยชน์ที่มอบให้แก่ทายาทของผู้เสียชีวิตทั้งหมดในครั้งนี้ รวมเป็นมูลค่ากว่า 5.5 ล้านบาท โดยก่อนหน้าการมอบเงินในครั้งนี้ กรมการกงสุลได้มอบเงินสิทธิประโยชน์ให้แก่ทายาทของแรงงานในเกาหลีใต้ผู้เสีย ชีวิตไปแล้ว 3 ราย เป็นมูลค่ากว่า 5.6 ล้านบาท ทำให้กรมการกงสุลได้มอบเงินอันพึงได้แก่ญาติของคนไทยผู้เสียชีวิตในต่างแดน ไปแล้วรวมทั้งสิ้นกว่า 11 ล้านบาทโอกาสนี้ รองอธิบดีกรมการกงสุลได้กล่าวสรุปผลการดำเนินงานคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ คนไทยในต่างประเทศของกรมการกงสุลประจำปี 2552 ว่า สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยทั้งหมด 94 แห่ง ได้ให้ความช่วยเหลือแก่คนไทยในต่างประเทศที่ตกทุกข์ได้ยากและร้องขอความช่วย เหลือเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,169 ราย ซึ่งรวมทั้งกรณีบุคคลสูญหายในต่างแดน การประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเจ็บป่วย ปัญหาครอบครัวของคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติ การถูกเอาเปรียบในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ อันพึงได้ของคนไทย ปัญหาการจ้างงาน เป็นต้น

(11 มกราคม 2553)

ภาพบรรยากาศ “งานวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2553”
ณ อาคารกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ

(12 มกราคม 2553)



กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ด้วย กรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำ ร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2553  ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน(หลังเก่า)
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(5 มกราคม 2553)



แจ้งข่าว ระบบสำรองคิวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว

วัน อาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. ท่านไม่สามารถสำรองคิวหนังสือเดินทางทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ได้ เนื่องจากปรับปรุงระบบสำรองไฟ

(25 ธันวาคม 2552 )

แจ้งข่าว ระบบสำรองคิวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว

วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2552 นี้ เวลา 20.00น.-22.00น. ระบบสำรองคิวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว เนื่องจากปรับปรุงระบบสำรองไฟ

(23 ธันวาคม 2552 )



กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดชัยภูมิ

ด้วยกรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่ง หน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง ประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ระหว่างวันที่ 23-26 ธันวาคม 2552  ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานจัดหางานจังหวัดชัยภูมิ
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(21 ธันวาคม 2552)

แผ่นดินไหวที่ไต้หวัน

ด้วยเมื่อ วันที่ 19 ธ.ค. 2552 เวลา 21.02 น. (เวลาท้องถิ่น) ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดความสั่นสะเทื่อน 6.8 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางห่างจากเมืองฮวาเหลียน (Hualien City) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะไต้หวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 25.5 กม. เกิดแรงสั่นสะเทือนถึงไทเป 4.0 ริกเตอร์ ไถจง 5.0 ริกเตอร์ และเกาสง 4.0 ริกเตอร์แผ่นดินไหวครั้งนี้นับว่ารุนแรงที่สุดในรอบปี แต่โดยที่มีระดับความลึกถึง 45.9 กม. จึงไม่ทำให้เกิดภัยพิบัติที่รุนแรง สำหรับความเสียหายเบื้องต้นในนครไทเป มีผุ้ได้รับบาดเจ็บจากการที่แท็งค์น้ำบนอาคารหลังหนึ่งหล่นลงมา โทรศัพท์บ้านและมือถือขัดข้องในหลายเมือง จนถึงเที่ยงวันอาทิตย์ (20 ธ.ค.) ได้เกิด after shocks อีก 129 ครั้งในชั้นนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผลกระทบใด ๆ ต่อคนไทยในพื้นที่ดังกล่าว


(21 ธันวาคม 2552 )

ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ของกระทรวงการต่างประเทศ

ด้วย กระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ภายใต้หัวข้อ “ความสุขของคนไทยใต้แสงพระบารมี” ตามที่ทุกหน่วยราชการจะได้ร่วมกันจัดอย่างพร้อมเพรียงเพื่อเป็นการเทิดพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณถนนราชดำเนินและมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 3-7 ธันวาคม 2552 เวลา 18.00-24.00 น. โดยกระทรวงการต่างประเทศจะตั้งเต็นท์บริเวณถนนราชดำเนินกลาง ถัดจากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ภายในเต็นท์จะมีกิจกรรมในโซนต่างๆ ประกอบด้วย(1) โซนการแสดงนิทรรศการ “การต่างประเทศใต้ร่มพระบารมี: ตามรอยเสด็จฯ ประพาสต่างประเทศ” ซึ่งมีข้อมูลเนื้อหาประกอบด้วยพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนมิตรประเทศ พระราชอาคันตุกะ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2549 และรางวัลต่างๆ ในระดับนานาชาติที่มีการทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับจะมีการฉายวีดิทัศน์ “ทางสายพระราชไมตรี” เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศด้วย(2) โซนนิทรรศการของคณะทูตต่างประเทศพร้อมการตอบปัญหาเพื่อรับของที่ระลึกจาก ต่างประเทศ โดยมีคณะทูตานุทูตจากประเทศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จฯ ประพาส และองค์การระหว่างประเทศ 3 แห่งที่เคยทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล เข้าร่วมกิจกรรมในโซนนี้ ทั้งนี้ ประเทศที่เข้าร่วมงานทุกวันรวม 5 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และยังมีประเทศอื่นๆ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาจัดนิทรรศการรวมทั้งสิ้น 29 ประเทศ นอกจากนี้ ยังขอเชิญชวนประชาชนที่มาร่วมงานถ่ายภาพกับหุ่นที่ใส่ชุดประจำชาติของประเทศ ต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติครั้งนี้ และผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้รับ “หนังสือเดินทางที่ระลึก” ที่จัดพิมพ์ขึ้นเป็นพิเศษในวาระโอกาสนี้ด้วย

(3) โซนหน่วยบริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ และการให้คำแนะนำแก่ประชาชนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถยื่นขอหนังสือเดินทางได้ในงานนี้ โดยไม่ต้องไปติดต่อทำหนังสือเดินทางที่กรมการกงสุลหรือที่สำนักงานหนังสือ เดินทางตามปกติ และกระทรวงการต่างประเทศจะจัดส่งเล่มหนังสือเดินทางที่ดำเนินการจัดทำเรียบ ร้อยแล้วไปให้ทางไปรษณีย์ต่อไป

จึงขอประกาศเชิญชวนให้ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระ เกียรติ 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว

(1 ธันวาคม 2552)





กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดนราธิวาส

ด้วย กรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำ ร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ระหว่างวันที่ 14-23 ธันวาคม 2552 (เว้นวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2552) ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ณ หอประชุมโรงเรียนนราสิกขาลัย
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(26 พฤศจิกายน 2552)





กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่
ระหว่างการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ณ ริมถนนราชดำเนินกลาง

ด้วย กรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำ ร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ระหว่าง การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ณ ริมถนนราชดำเนินกลาง ระหว่างวันที่ 3-7 ธันวาคม 2552 เวลา 18.00-22.00 น.
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(25 พฤศจิกายน 2552)



แรงงานไทยในสเปนขอความช่วยเหลือให้ส่งตัวกลับประเทศไทย

กระทรวง การต่างประเทศ ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ว่า ได้รับการร้องเรียนจากแรงงานไทยจำนวน 19 คน ซึ่งเคยทำงานเก็บผักที่จังหวัดดหนึ่งในสเปน ว่า ได้เดินทางเข้าไปทำงานเก็บผักในประเทศสเปน โดยเสียค่าใช้จ่ายหัวละ 580,000.00 บาท ให้กับบริษัทจัดหางานแห่งหนึ่งในประเทศไทย และได้รับแจ้งว่า จะมีระยะเวลาทำงาน 5 ปี โดยสัญญาสามารถต่อได้โดยอัตโนมัติ แต่เมื่อทำงานได้ครบ 1 ปี พวกตนได้รับแจ้งจากบริษัทนายจ้างสเปนว่า ให้เดินทางกลับประเทศไทย พร้อมทั้งได้ซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินให้ด้วย แต่บริษัทจัดหางานไทยได้โน้มน้าวคนงานให้หลีกเลี่ยงการเดินทางกลับประเทศไทย โดยอ้างว่าบริษัท ฯ สามารถต่อบัตรทำงานในสเปนให้ได้ แรงงานไทยทั้ง 19 ราย จึงได้รออยู่เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน ก็ยังไม่มีความคืบหน้า และขณะนี้พำนักอยู่ในสเปนอย่างยากลำบากและผิดกฎหมาย จึงขอความช่วยเหลือสถานเอกอัครราชทูต ฯ ให้ช่วยส่งตัวกลับประเทศไทยด้วย
สถานเอกอัครราชทูต ฯ จึงได้ประสานขอทราบรายละเอียด/ข้อเท็จจริงกับบริษัทนายจ้างสเปนเกี่ยวกับ สัญญาจ้างซึ่งได้รับแจ้งว่า เป็นสัญญาจ้างระยะเวลา 9 เดือน และต่ออายุได้อีก 3 เดือน รวมระยะเวลาทำงาน 1 ปี และทางบริษัท ฯ มีความพอใจในการทำงานของแรงงานไทย ซึ่งทางบริษัท ฯ ได้ยื่นเรื่องต่อทางการสเปนเพื่อขอต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ได้รับอนุมัติเนื่องจากขณะนี้จำนวนแรงงานสเปนว่างงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ บริษัท ฯ ได้ซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยให้กับแรงงานไทยทั้ง 19 คน หลังสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว แต่ในวันที่ส่งรถไปรับแรงงานไทยไปสนามบินกลับไม่พบแรงงานไทยดังกล่าว และจนบัดนี้ก็ไม่ทราบว่าแรงงานไทยพำนักอยู่ที่ใด บริษัท ฯ จึงถือว่าหมดภาระความรับผิดชอบแล้วในเรื่องการส่งกลับแรงงานไทยกลับประเทศ ไทย เนื่องจากได้ออกบัตรโดยสารเครื่องบินให้แล้วและบัตรฯก็ได้หมดอายุแล้วด้วย
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์เตือนแรงงานไทยที่ประสงค์ จะไปทำงานในต่างประเทศให้ติดต่อกระทรวงแรงงาน ฯ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และศึกษา/ตรวจสอบสัญญาจ้างอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจไปทำงานในต่างประเทศ


(23 พฤศจิกายน 2552 )

แรงงานหญิงไทยในดูไบถูกตำรวจจับกุมในข้อหาค้าประเวณี

กระทรวง การต่างประเทศ ได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ ว่า ตำรวจหน่วย Crime Investigation Department (CID) ได้เข้าจับกุมพนักงานนวดหญิงไทย 7 คน ในร้านนวดแห่งหนึ่ง โดยตำรวจได้รับรายงานว่าร้านนวดดังกล่าวมีการให้บริการทางเพศกับลูกค้า จึงส่งเจ้าหน้าที่ปลอมตัวเป็นลูกค้าเข้าไปใช้บริการจนสามารถจับกุมพนักงาน หญิงไทยได้ขณะให้บริการ และนำไปควบคุมตัวไว้ที่สำนักงาน CID
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์เตือนหญิงไทยที่จะเดินทาง ไปค้าประเวณีในต่างประเทศว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย หลายประเทศที่ทางการได้เอาจริงเอาจังและดำเนินการอย่างเข้มงวดกับกิจการที่ ผิดกฎหมายทุกประเภท


(20 พฤศจิกายน 2552 )



กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดชลบุรี (พัทยา)

ด้วย กรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำ ร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ณ โรงแรมณุศาพลาญ่า หาดจอมเทียน เมืองพัทยา ระหว่างวันที่ 1-6 ธันวาคม 2552 เวลา 08.00-16.30 น.
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5





กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอพนมสารคาม)

ด้วย กรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำ ร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ณ หอประชุมอำเภอพนมสารคาม ระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2552 เวลา 08.00-16.30 น.
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(18 พฤศจิกายน 2552)





กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดเชียงราย

ด้วย กรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำ ร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) จังหวัด เชียงราย ระหว่างวันที่ 16 – 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา 08.00-16.30 น. ณ หอประชุมศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ อบจ.เชียงราย
ทั้ง นี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้ เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยัง สำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง
บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)
4. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน
4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)
4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลง นาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)
4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1. แสดงเอกสาร
2. วัดส่วนสูง
3. กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์
4. สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป
5. ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง
1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ
1. ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย
2. ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(5 พฤศจิกายน 2552)



สถานการณ์การประท้วงใหญ่ในเนปาล

กระทรวง การต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ว่า จะมีการชุมนุมประท้วงโดยพรรค Unified Communist Party of Nepal –Maoist (UCPN Maoist) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาร่างรัฐธรรมนูญของเนปาล ได้มีการกำหนดแผนการประท้วงเริ่มในวันที่ 1 พ.ย. 52 ไปจนถึงวันที่ 13 พ.ย. 52 โดยมีการเดินขบวน ชุมนุมปิดล้อมและขัดขวางการปฏิบัติงานตามสถานที่ราชการและหน่วยงานเทศบาลของ รัฐ ปิดล้อมหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะในวันที่ 10 พ.ย. 52 จะชุมนุมประท้วงปิดทางเข้า – ออกหุบเขากาฐมาณฑุทุกด้าน รวมทั้งสนามบิน และวันที่ 12 – 13 พ.ย. 52 จะปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล
จึงขอประชาสัมพันธ์เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในเนบาลใน ช่วงดังกล่าวให้ทราบถึงสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างมาก และในกรณีที่ท่านมีความจำเป็นต้องเดินทางไปเนปาลในช่วงดังกล่าวก็ขอให้ ติดตามสถานการณ์การเมืองเนปาลอย่างใกล้ชิด โดยสามารถติดตามสถานการณ์การประท้วงได้จาก website ของสถานเอกอัครรชทูต ฯ www.thaiembassy.org/kathmandu


(4 พฤศจิกายน 2552 )


สถานการณ์ก่อความไม่สงบในรัฐ Jharkhan พิหาร และโอริสสา

กระทรวง การต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา เกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่สงบของกลุ่มก่อการร้าย Maoist ว่า รัฐบาลอินเดียได้ประกาศเตือนว่า อาจจะมีการโจมตีขบวนรถไฟโดยกลุ่มก่อการร้าย Maoist ในบริเวณพื้นที่บางส่วนของรัฐพิหาร (Bihar) Jharkhan และบริเวณพรมแดนที่ติดกับรัฐเบงกอลตะวันตก ทั้งนี้ สถานีรถไฟต่าง ๆ ที่อยู่ในรัฐดังกล่าวต่างมีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตีของกลุ่ม Maoist ด้วย
จึงขอประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่จะเดินทางโดยรถไฟผ่านพื้นที่ที่ เสี่ยงต่อการโจมตีดังกล่าวในระยะนี้ ให้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือหากไม่มีความจำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในบริเวณดังกล่าว จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเป็นปกติ


(2 พฤศจิกายน 2552 )



กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จ.ร้อยเอ็ด

ด้วย กรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับ คำร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) จ.ร้อยเอ็ด ณ วัดกลางมิ่งเมือง ระหว่างวันที่ 28-31 ตุลาคม 2552 เวลา 08.00-16.30 น.
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก แก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้ จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยังสำนักงานหนังสือเดินทางต่างๆ

(15 ตุลาคม 2552)




โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกับหน่วยประสานงานเพื่อต่อต้าน
การค้ามนุษย์ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย (TRAFCORD)

นาย มนชัย พัชนี ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล และนางสาวศิริพร ช้างเอก ได้เข้าร่วมโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์กับ TRAFCORD ที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 24 กันยายน 2552 โดยการจัดเวทีชุมชนเพื่อให้ความรู้ในเรื่องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ อย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์
ในช่วงเช้าของวันที่ 23 กันยายน 2552 มีการจัดเวทีชุมชนดังกล่าวที่วัดวังฟ่อน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 111 คน ประกอบด้วย จัดหางานจังหวัด ปลัดอำเภอ กำนัน และแกนนำชุมชน การดำเนินกิจกรรมเริ่มด้วยการบรรยายของนายอานัส อุทัยศรี เจ้าหน้าที่ TRAFCORD ได้กล่าวถึงนิยามและสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย และในช่วงบ่ายได้มีการจัดเวทีชุมชนเพื่อให้ความรู้ในเรื่องการเดินทางไปทำ งานต่างประเทศอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ที่วัดศรีบุญชุม ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยมีผู้นำชุมชน และชาวบ้าน อีก 127 ราย เข้าร่วมรับฟัง โดยการบรรยายตามแนวเดียวกัน
วันที่ 24 กันยายน 2552 ได้จัดเวทีชุมชนในรูปแบบของการเสวนาในหัวข้อการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ อย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ขึ้นที่โรงเรียนบ้านสันติคีรี ตำบลแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมี แกนนำชุมชน และผู้สนใจเข้าร่วม จำนวน 130 คน
ในการบรรยาย นายมนชัย ฯ ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “การเดินทางไปต่างประเทศอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์” กล่าวถึงภาพรวมของภารกิจของกรมการกงสุล ภารกิจของกองคุ้มครอง ฯ และประเภทของผู้ตกทุกข์ได้ยาก จากนั้นจึงได้เข้าสู่ประเด็นการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศอย่างปลอดภัยและ ถูกต้องตามกฎหมาย โดยสรุปว่า
1. การเดินทางไปทำงานต่างประเทศจะทำได้ 5 วิธี
1.1 รัฐจัดส่งไปในขณะนี้มีเพียงประเทศเดียว คือเกาหลี
1.2 บริษัทจัดหางานจัดส่ง ซึ่งจะต้องเสียค่าหัว
1.3 การเดินทางไปทำงานด้วยตนเอง ซึ่งปัจจุบัน แรงงานไทยจะถูกนายหน้าและ/หรือบริษัทจัดหางานเรียกเก็บค่าหัว เพื่อติดต่อนายจ้างในต่างประเทศให้
1.4 บริษัทนายจ้างในประเทศไทยส่งไปฝึกงานในต่างประเทศ
1.5 บริษัทนายจ้างในประเทศไทยส่งไปทำงานในต่างประเทศ อาทิ กรณีเก็บผลไม้ป่าในสวีเดน
2. ภัยของการเดินทางไปประกอบอาชีพนวดในต่างประเทศ
3. ภัยจากขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ
4. นอกจากนั้นสตรีไทยพึงระมัดระวังหากมีผู้มาชักจูงให้เดินทางไปทำงานประเทศที่ ไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (วีซ่า) โดยเฉพาะอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ บาห์เรน แอฟริกาใต้ อาร์เจนติน่า เพราะอาจถูกล่อลวงให้ไปบังคับให้ขายบริการทางเพศ หรือ ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติเช่นในกรณีของอาร์เจนติน่า
5. การเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ไม่ว่าทำงานนวด แม่บ้าน หรือในร้านอาหาร จะต้องผ่านขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ เพื่อให้ถูกต้องตาม ก.ม. (ม. 48 – การแจ้งว่าหางานทำใน ต่างประเทศ ได้ด้วยตนเอง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางาน 2528) ดังนี้
5.1 นายจ้างจะต้องนำสัญญาจ้างงานไปให้สถานทูตไทย/สถานกงสุลไทยที่ประจำอยู่ใน ประเทศของนายจ้าง รับรองแล้วจัดส่งมาให้ผู้หางานที่ประเทศไทย
5.2 ผู้หางานต้องนำสัญญาจ้างดังกล่าวไปให้สำนักจัดหางานจังหวัด หรือกรมการจัดหางานอนุมัติการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
5.3 ผู้หางานต้องนำหนังสือเดินทางไปขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ประเภททำงานจากสถานทูต/สถานกงสุลของประเทศที่จะเดินทางไปทำงาน
โครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างมากในแต่ละวันมีผู้นำชุมชน ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องภัยค้ามนุษย์ ปัญหาที่เกิดจากการเดินทางไปต่างประเทศโดยไม่มีความรู้และการเตรียมตัวที่ดี
(ตุลาคม 2552)




ผลงานด้านกงสุลและการบริการประชาชนของกระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวง การต่างประเทศขอแจ้งผลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลคนไทย การให้บริการด้านกงสุลแก่คนไทยทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชนไทยในต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบดูแลภารกิจด้านการต่างประเทศ ที่ได้ถือปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริม รักษาและคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศและคนไทยในต่างประเทศ ดังนี้1.การบริการประชาชน

1.1 การบริการหนังสือเดินทาง
ในปี 2552 กระทรวงการต่างประเทศได้เปิดสำนักงานหนังสือเดินทางในจังหวัดสำคัญ ๆ หลายแห่งเพื่อ มุ่งบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ โดยได้เปิดสำนักงานหนังสือเดินทางที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 และ ที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ทำให้มีสำนักงานหนังสือเดินทางในต่างจังหวัด รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้จัดบริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปยังจังหวัดที่ไม่มีสำนักงาน หนังสือเดินทาง ประมาณปีละ 30 ครั้ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2552 ได้จัดหนังสือเดินทางเคลื่อนที่แล้ว 18 ครั้ง สามารถออกหนังสือเดินทางแก่ประชาชนที่มาขอรับบริการเป็นจำนวน 35,058 เล่ม นอกจากนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศยังได้ส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ไป ให้บริการประชาชนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสม่ำเสมอทุกปี เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพิ้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ รวมทั้งให้ความร่วมมือแก่กรมการศาสนา ในการออกหนังสือเดินทางฮัจย์ โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมต่ำกว่าบุคคลทั่วไปจาก 1,000 บาทเหลือเพียง 400 บาท สำหรับประชาชนไทยเชื้อสายมุสลิม ที่มีกำหนดเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์อีกด้วย
1.2 การขยายการบริการด้านกงสุลแก่ประชาชน
กระทรวง การต่างประเทศมีแผนที่จะยกระดับสำนักงานหนังสือเดินทางฯ เพื่อให้บริการในด้านกงสุลอื่น ๆ ให้ครบวงจรมากขึ้น อาทิ งานรับรองเอกสาร งานช่วยเหลือคุ้มครองคนไทย การช่วยเป็นที่ปรึกษาด้านพิธีการและช่วยประสานงานด้านต่างประเทศให้กับ จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่าและมาเลเซีย การเป็นองค์ความรู้ด้านต่างประเทศให้กับชุมชน
1.3 การให้ความรู้และเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้ริเริ่มจัดเจ้าหน้าที่ไปพบปะให้ความรู้แก่ ประชาชนในภูมิภาคต่างๆเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และจำเป็นสำหรับ การเตรียมตัวที่ถูกต้องก่อนเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จริงของเจ้าหน้าที่ที่เคยปฏิบัติงานด้านกงสุลใน ต่างประเทศเป็นข้อมูลตัวอย่าง นอกจากการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการอยู่เป็นประจำ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นมา ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ฯ ในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา นครพนม บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี และชลบุรี โดยร่วมมือกับแรงงานจังหวัด พัฒนาสังคมจังหวัด องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ โดยจะดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ โดยที่ปัญหาแรงงานในต่างประเทศส่วนหนึ่งมาจากการขาดการเตรียมตัวที่ดี ในปี 2552 นี้ กระทรวง การต่างประเทศจึงได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินโครงการนำร่องในการ จัดอบรมและพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยแบบครบวงจร โดยการให้ความรู้ทั้งด้านกฎระเบียบ สภาพชีวิตความเป็นอยู่และการสอนภาษาของประเทศปลายทางก่อนออกเดินทาง โดยเริ่มโครงการแรกกับแรงงานที่จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และจะนำผลการดำเนินโครงการส่งให้กระทรวงแรงงาน พิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป

2. การคุ้มครองดูแลคนไทยในต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากใน ต่างประเทศปีละ 2,000-3,000 ราย กลุ่ม เป้าหมายสำคัญ ได้แก่ แรงงาน ลูกเรือประมง และหญิงไทยที่ถูกหลอกไปค้าประเวณีในต่างประเทศ โดยมีการดำเนินการสำคัญตั้งแต่ต้นปี 2552 ดังนี้
2.1 การจัดตั้งคณะทำงานด้านประมง
ปัญหาเรือประมงไทยถูกจับกุมในน่านน้ำต่างประเทศมีแนวโน้มซับซ้อน ขึ้น และเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากฝ่ายนิติบัญญัติเป็นพิเศษ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านประมงเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมประมง กองทัพเรือ กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมการขนส่ง-ทางน้ำและพาณิชยนาวี และหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันในการหาข้อมูลข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อบูรณาการการให้ความช่วยเหลือเรือและลูกเรือประมงไทยอย่างมีประสิทธิภาพ คณะทำงานฯ ได้จัดประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 24 เมษายน วันที่ 3 กรกฎาคม และวันที่ 28 กันยายน 2552 ตามลำดับ ขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการพิจารณาร่างบทบาทหน้าที่ (TOR) และแนวปฏิบัติ (SOP) ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ที่มีชาวประมงไทยถูกจับด้วย
2.2 การจัดทีมสหวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ในต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ในการจัดตั้งทีมสหวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ โดยจะจัดให้มีห้องปฏิบัติงานที่สนามบินสุวรรณภูมิในลักษณะ one-stop service นับตั้งแต่คนไทยตกทุกข์ได้รับความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตและสถาน กงสุลใหญ่ในการส่งกลับประเทศไทย การรับตัวที่สนามบิน การช่วยเหลือส่งกลับภูมิลำเนา การช่วยฟื้นฟูอาชีพ ฯลฯ โดยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยได้จัดสรรพื้นที่ให้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ กำลังเตรียมแบบห้อง คาดว่าจะเปิดใช้บริการได้ในเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้

3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนไทยในต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการเสริมสร้างความ เข้มแข็งแก่ชุมชนไทยในต่างประเทศ โดยเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวของชุมชนไทย การพัฒนาเพิ่มพูนทักษะและความรู้ และการส่งเสริมให้ชุมชนไทยอยู่ในสังคมท้องถิ่นอย่างมีศักดิ์ศรีและมีตัวตน
ในปี 2552 นี้ กระทรวงการต่างประเทศได้สนับสนุนงบประมาณให้กับสถานเอกอัครราชทูตและสถาน กงสุลใหญ่ในต่างประเทศดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนไทย รวมทั้งได้ร่วมกับกรมสุขภาพจิตจัดคณะจิตแพทย์ไปอบรมให้ความรู้ด้านการดูแล สุขภาพจิตและเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนแก่อาสาสมัครและแกนนำคนไทยในประเทศที่ มีชุมชนไทยหนาแน่น อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐ สวิตเซอร์แลนด์ อิสราเอล สาธารณรัฐเกาหลี ไต้หวัน นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนงบประมาณให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับการดำเนินโครงการต่าง ๆ สำหรับคนไทยในต่างประเทศอีกด้วย

4. การสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย

กระทรวงการต่างประเทศได้สนองตอบต่อนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวไทย โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราว 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2552 และต่อมาได้ขยายเป็น 1 ปี จนถึงวันที่ 4 มีนาคม 2553 จากการประเมินการยกเว้นค่าธรรมเนียมในช่วง 3 เดือนแรก พบว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติไปขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูตและ สถานกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 47 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้กำชับให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่เร่ง ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยให้มากยิ่งขึ้นด้วย


(20 ตุลาคม 2552)


ข้อห้ามในการนำพาอาวุธปืนไปต่างประเทศ

กระทรวง การต่างประเทศ ขอประชาสัมพันธ์เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปต่างประเทศ หรือเดินทางกลับจากต่างประเทศให้ทราบเกี่ยวกับข้อห้ามการนำพาอาวุธปืนเก็บ ไว้ในกระเป๋าสัมภาระ (Check-in-baggage) แม้ว่าจะแยกชิ้นส่วนและใส่ไว้ในกระเป๋าสัมภาระแล้วก็ตาม หากเจ้าหน้าที่ประจำสนามบินตรวจพบ ท่านจะถูกยึดอาวุธปืนไว้และมีบทลงโทษอีกด้วย

(20 ตุลาคม 2552)


การลักลอบขนยาเสพติดในบราซิล

กระทรวง การต่างประเทศได้รับรายงานจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย นำส่งบทความเกี่ยวกับการลักลอบขนยาเสพติดในบราซิลเรื่อง “Stomach for rent to drug traffickers” จากหนังสือพิมพ์ O Estado do S. Paulo ของบราซิล สรุปสาระสำคัญดังนี้
บราซิลอยู่ช่วงกลางของเส้นทางการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศและสนาม บินนครเซา เปาโล เป็นเป้าหมายหลักของการลักลอบขนยาเสพติดทางอากาศ เนื่องจากมีเที่ยวบินเชื่อมต่อจุดต่างๆ ในลาตินอเมริกา โอกาสที่ผู้รับจ้างลักลอบขนยาเสพติดจะนำออกไปได้มีมาก ยาเสพติดบางส่วนอยู่ในบราซิล แต่ตลาดหลักของยาเสพติดอยู่ในยุโรปและเอเชีย ผู้รับจ้างลักลอบฯ ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน อายุไม่มาก และมาจากหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สเปน แอฟริกาใต้ อังโกล่า เป็นต้น ค่าจ้างลักลอบขนยาเสพติด สูงสุดไม่เกิน 5,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยจะจ่ายเมื่อมีการส่งมอบของ การลักลอบขนยาเสพติดด้วยการกลืนลงในท้องเป็นวิธีที่ใช้มาก เนื่องจากสามารถลักลอบขนได้จำนวนมาก ประมาณ 70-100 แคปซูล แต่ละแคปซูลบรรจุยาฯ ประมาณ 5 ถึง 7 กรัม ซึ่งแพทย์ได้กล่าวว่า ผู้ลักลอบขนยาเสพติดกลืนโคเคนบริสุทธิ์ซึ่งอันตรายมากโดยเฉพาะเมื่อแคปซูล ที่บรรจุโคเคนแตกเมื่ออยู่ในร่างกาย วิธีช่วยชีวิตของผู้กลืนโคเคนคือ การผ่าตัด โดยเฉลียโรงพยาบาลผ่าตัดช่วยชีวิตเดือนละ 6 ราย
สำหรับเส้นทางที่ใช้เพื่อลักลอบขนยาเสพติดบ่อยๆ ได้แก่ จากนครเซาเปาโลไปยังกรุงลอนดอน กรุงบรัสเซลส์ กรุงมาดริดและบาเซโลน่า กรุงลิสบอน กรุงปารีส นครซูริค เซเนกัล กรุงโรม นครอิสตันบูล กรุงลากอส นครดูไบ กรุงลาอุนด้า (อังโกล่า) กรุงเทพฯ และนครโจฮันเนสเบิร์ก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ปัจจุบันมีนักโทษไทยต้องโทษคดีลักลอบขนยาเสพติดในเรือนจำนครเซา เปาโล ประเทศบราซิล จำนวนรวมทั้งสิ้น 20 ราย
จึงขอประชาสัมพันธ์เตือนคนไทยขอให้คำนึงถึงผลร้ายของการลักลอบขน ยาเสพติด ขอให้ระมัดระวัง/หลีกเลี่ยงการถูกชักชวนเข้าสู่กระบวนการค้ายาเสพติดในฐานะ ผู้ลักลอบขนยาเสพติดจากแหล่งผลิตในประเทศที่สามไปยังแหล่งจำหน่าย หลายประเทศจะมีบทลงโทษที่รุนแรงสูงสุดถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต


(16 ตุลาคม 2552)


การจับกุมหญิงไทยข้อหาลักลอบนำยาเสพติดเข้าประเทศมาเลเซีย

กระทรวง การต่างประเทศ ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่าเมื่อต้นเดือนกันยายน 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจกัวลาลัมเปอร์ได้เข้าตรวจค้นโรงแรมแห่งหนึ่งและได้พบหญิง ที่ต้องสงสัยว่าลักลอบขนส่งยาเสพติดระหว่างประเทศ จึงทำการตรวจค้นร่างกายและห้องพัก ได้พบแคปซูลบรรจุโคเคนจำนวน 63 แค็ปซูล รวม 1 กิโลกรัม อยู่ในกระเพาะอาหารของหญิงไทยดังกล่าว จึงให้ขับถ่ายยาเสพติดออกจากร่างกาย
ต่อมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมหญิงไทยคนดังกล่าว ที่สำนักงานตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดยหญิงไทยรายนี้เล่าว่า ได้ลักลอบนำยาเสพติดเข้าประเทศมาเลเซียจริงโดยใช้วิธีกลืนลงท้อง ได้รับการว่าจ้างในราคา 1 แสนบาท จากชายจากทวีปแอฟริกา ซึ่งมีภรรยาเป็นคนไทยที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้ตนเดินทางไปรับยาเสพติดจากบุคคลในประเทศบราซิล ตนจึงเดินทางจากรุงเทพฯ ไปบราซิล และผ่านสิงคโปร์ ดูไบ เมื่อถึงบราซิลได้กลืนยาลงท้อง แล้วเดินทางกลับโดยแวะผ่านดูไบ ก่อนเดินทางมายังกรุงกัวลาลัมเปอร์ แล้วเข้าพักโรงแรมเพื่อรอสายมารับยา แต่ถูกตรวจจับเสียก่อน
จึงขอเตือนคนไทยขอให้คำนึงถึงผลร้ายของการลักลอบขนยาเสพติด การถูกชักชวนเข้าสู่กระบวรการค้ายาเสพติดในฐานะผู้ลักลอบขนยาเสพติดจากแหล่ง ผลิตในประเทศที่สามไปยังแหล่งจำหน่ายในประเทศจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ว่าหลายประเทศจะมีบทลงโทษที่รุนแรงสูงสุด คือประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต


(15 ตุลาคม 2552)


คนไทยถูกล่อลวงมาทำงานในกระบวนการต้มตุ๋นฉ้อโกงทรัพย์

กระทรวง การต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู ว่า ได้รับการประสานจากหญิงไทย 3 คน ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย โดยบุคคลทั้ง 3 ได้เดินทางมาจากประเทศไทย โดยการชักชวนจากคุณแอน (นามสมมุติ) ซึ่งได้รู้จักที่โรงเรียนสอบภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประสงค์จะไปทำงานในต่าง ประเทศ โดยจะให้มาทำงานขายแก้วในลักษณะนำเข้า-ส่งออกกับประเทศไทยและลาว แต่เมื่อเข้าทำงานกับนายจ้างลูกครึ่งเกาหลี – จีน พบว่างานที่จะได้ทำเป็นงานเกี่ยวกับการตุ้มตุ๋นคนไทยโดยการสุ่มส่งข้อความ และการติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาศัยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่องค์กรบริการด้านสาธารณูปโภค หรือ ธนาคารพาณิชย์ ตามทวงค่าบริการหรือหนี้สินที่ค้างชำระ โดยมีการข่มขู่และบีบบังคับให้นำเงินเข้าเลขบัญชีธนาคารตามที่กำหนดไว้ ซึ่งหญิงไทยทั้ง 3 คน ได้พิจารณาว่าลักษณะงานดังกล่าวผิดกฎหมายและศีลธรรม จึงได้ทำการหลบหนีออกมาขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุลใหญ่ฯ ทางสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือส่งตัวหญิงไทยทั้ง 3 คน กลับประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว


(15 ตุลาคม 2552)


การให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในบัลแกเรีย

กระทรวง การต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์ ว่าได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานไทย จำนวน 7 คน ที่ประสบปัญหานายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง โดยแรงงานไทยดังกล่าวได้เดินทางไปทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งในเมือง Radomir ประเทศบัลแกเรีย ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2552 โดยผ่านบริษัทจัดหางานไทย ต่อมา ในเดือนกรกฎาคม 2552 สถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้รับการร้องเรียนจากแรงงานดังกล่าวว่าไม่ได้รับค่าจ้างตามที่ระบุในสัญญาฯ ซึ่งจากการสอบถามไปยังบริษัทฯ ได้รับแจ้งว่าแรงงานไทยไม่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานที่ทางบริษัทฯ กำหนด สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้ประสานกับบริษัทจัดหางานไทยเพื่อดำเนินการนำแรงงานไทยดังกล่าวกลัป ประเทศไทยต่อไป
กระทรวงการต่างประเทศ จึงขอประชาสัมพันธ์ เตือนให้แรงงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงานในต่างประเทศให้ขอรับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนเกี่ยวกับลักษณะงาน รายได้ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงได้จากบริษัทจัดหางาน และตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ตามสัญญาจ้าง ทุกครั้งก่อนตัดสินใจไปทำงานในต่างประเทศ


(15 ตุลาคม 2552)


เยี่ยมลูกเรือประมงไทยในอ่าวเปอร์เซีย


เมื่อ วันที่ 29 กันยายน นายชัยรัตน์ ศิริวัฒน์ อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน พร้อมด้วยนายวันชัย วราวิทย์ อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายพาณิชย์ และนายอำนาจ พละพลีวัลย์ เลขานุการเอก ได้ไปเยี่ยมลูกเรือประมงพรานทะเล 3 ซึ่งเป็นหนึ่งในเรือ 7 ลำของบริษัทพรานทะเลของไทยที่ร่วมมือกับบริษัท Qeshm Fish Process (QFPC) ของอิหร่านซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ Qeshm ทางตอนใต้ของอิหร่านในอ่าวเปอร์เซีย สอบถามทุกข์สุขและหารือด้านการกงสุลว่าลูกเรือมีความประสงค์ให้ทางราชการ ช่วยเหลือด้านใดและรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อประสานกับผู้เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือต่อไป
คณะสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ย้ำกับลูกเรือประมงไทยว่าทางราชการไทยมีความห่วงใยในสวัสดิภาพของลูกเรือ ประมงเหล่านี้ และยินดีที่เห็นว่าบริษัท QFPC และบริษัทพรานทะเลให้การดูแลได้ดีพอควร จึงขอให้ลูกเรือประมงไทยทำงานอย่างดีและรักษาชื่อเสียงของประเทศไทยและขอให้ ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบของอิหร่านอย่างเคร่งครัดด้วย


(14 ตุลาคม 2552)


ด่านตรวจคนเข้าเมืองปอยเปตประเทศกัมพูชาจะยึดหนังสือเดินทาง/หนังสือผ่านแดนคนไทย
ที่เดินทางเข้าไปเล่นการพนันในบ่อนกาสิโนฝั่งปอยเปต

กระทรวง การต่างประเทศได้รับแจ้งจากจังหวัดสระแก้วว่า ด่านตรวจคนเข้าเมืองปอยเปต ประเทศกัมพูชาจะยึดหนังสือเดินทางคนไทยที่เดินทางเข้ากัมพูชาแล้วออกใบแทน ให้ โดยจะยึดหนังสือเดินทาง (Passport) และหนังสือผ่านแดน (Border Pass) เฉพาะคนไทยที่เข้าไปเล่นการพนันในบ่อนกาสิโนในฝั่งปอยเปตเท่านั้น เมื่อเดินทางกลับให้นำใบแทนมาแลกหนังสือเดินทางคืนได้โดยจะไม่เก็บเงินค่า รักษาหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป ระหว่างเปิดด่านเวลา 07.00 – 16.00 น. (เป็นเวลาราชการ) แต่หากเกินเวลา 16.00 น. จะต้องเสียเงินคนละ 50 บาท สำหรับวันเสาร์ – อาทิตย์ จะต้องเสียค่านอกเวลาราชการครั้งละ 50 บาท ตั้งแต่เวลา 07.00 – 20.00 น. หากเป็นนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเที่ยว จ.เสียมราฐและกรุงพนมเปญโดยมี วีซ่าเข้าประเทศและมีไกด์นำมาเป็นคณะ ทางด่านฯ จะไม่ยึดหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ รวมทั้งพนักงานของบ่อนกาสิโน หากมีบัตรพนักงานแสดงก็จะไม่ยึดหนังสือเดินทาง
จึงขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนคนไทยที่จะเดินทางไปกัมพูชาให้ทราบถึงมาตรการดังกล่าวด้วย


(14 ตุลาคม 2552)

ประกาศกองสัญชาติและนิติกรณ์

กองสัญชาติและนิติกรณ์จะระงับบริการด่วน (ขอรับรองเอกสารได้ภายในวันเดียวที่ยื่น) สำหรับเอกสารที่ต้องมีการรับรองคำแปล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นการชั่วคราว สำหรับการรับรองเอกสารประเภทอื่น  ยังคงให้บริการด่วนตามเดิม

ANNOUNCEMENT

Express service (collection of documents within the same day of submission) for legalization of translated documents will be temporarily suspended from 1 October 2009 until further notice.

(16 กันยายน 2552 )



สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา เปิดบริการสำรองคิวล่วงหน้าเพื่อขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

สำนัก งานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา เปิดบริการสำรองคิวล่วงหน้าเพื่อขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มสำรองคิวได้ตั้งแต่ 19 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป
ผู้สนใจสามารถสำรองคิวได้ที่เว็บไซต์ www.consular.go.th โดยเข้าไปที่ “สำรองคิวทำหนังสือเดินทาง” หรือทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 02-982-8786

(14 ตุลาคม 2552)



กรณีแรงงานไทยตกค้างในลิเบีย

ตาม ที่ได้ปรากฏรายงานข่าวเมื่อ 8 ตุลาคม 2552 เกี่ยวกับแรงงานไทยในลิเบีย 151 คน ซึ่งหมดสัญญาว่าจ้างแล้ว แต่ยังคงตกค้างอยู่ในประเทศลิเบียและถูกนายจ้างบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับ ค่าจ้าง ซึ่งเครือข่ายช่วยเหลือแรงงานไทยในต่างแดน จ.ขอนแก่น ได้ออกมาเรียกร้องให้ทางการไทยเร่งให้ความช่วยเหลือนำคนงานไทยกลับประเทศ รวมทั้ง ตรวจสอบบริษัทจัดส่งคนงาน ซึ่งหากมีความผิดขอให้ดำเนินคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย นั้น
นายธานี ทองภักดี รองอธิบดีรักษาการอธิบดีกรมสารนิเทศและรักษาการโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในการ ให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่ประสบปัญหาดังกล่าว ดังนี้
1. ตั้งแต่เดือน พ.ค. 52 เป็นต้นมา กระทรวงฯ ได้ประสานไปยังสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลีเพื่อดำเนินการ ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดต่อพูดคุยกับแรงงานไทยเพื่อรับทราบปัญหาและเจรจาเจรจากับบริษัทนาย จ้างเพื่อให้รีบส่งแรงงานทั้งหมดกลับ แต่บริษัทนายจ้างไม่ให้ความร่วมมือ โดยกล่าวว่ามีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ไม่สามารถส่งแรงงานไทยทั้งหมดกลับในครั้งเดียวได้ ต้องทะยอยส่งกลับ ทั้งนี้ จนถึงสิ้นเดือน ก.ค. 52 บริษัทนายจ้าง ได้ส่งแรงงานไทยกลับเพียง 20 คน
2. เมื่อเดือน มิ.ย. 52 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดสรรงบประมาณให้สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความเพื่อติดตามเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของ แรงงานไทย และสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เจรจากับบริษัทนายจ้างเพื่อขอรับหนังสือเดินทางคืนให้กับแรงงานไทยทั้ง หมด ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการขอ Exit Visa สำหรับเดินทางออกจากประเทศลิเบีย
3. จากการประสานงานกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงแรงงานฯ ได้เห็นชอบในหลักการแล้วที่จะจัดสรรเงินจาก “กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประสานงานและจัดส่งเจ้าหน้าที่ทั้งจากกระทรวงแรง งานฯ ในประเทศไทยและจากสำนักงานในซาอุดีอาระเบีย ไปให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งจัดซื้อตั๋วเครื่องบิน เพื่อนำแรงงานกลับประเทศไทย
4. พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ได้ประสานไปยังบริษัทจัดหางานซึ่งเป็นผู้จัดส่งแรงงานไทยดังกล่าวไปลิเบีย ให้ร่วมแก้ไขปัญหาและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย

(12 ตุลาคม 2552)


พายุ Ketsana  พัดผ่านภาคกลางของเวียดนาม

ตาม ที่พายุ Ketsana พัดผ่านภาคกลางของเวียดนาม เมื่อวีนที่ 29 กันยายน 2552 นั้น ทางการเวียดนามได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 38 ราย บาดเจ็บ 81 ราย และสูญหาย 10 ราย จากการจมน้ำและดินถล่ม ทั้งนี้ ไม่ปรากฎรายงานว่ามีคนไทยเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแต่อย่างใด

(1 ตุลาคม 2552)



ฟิลิปปินส์ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นกฤษณา

ตามที่พายุไต้ฝุ่นกฤษณา (Ketsana) ได้พัดเข้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อช่วงเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 26 กันยายน 2552 ซึ่งมีผลทำให้กรุงมะนิลาและ 25 จังหวัดของเกาะลูซอน บริเวณภาคกลางของฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้มีผู้เสียชีวิต สูญหาย และทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก และมีประชาชนกว่า 400,000 คน ได้รับผลกระทบและไร้ที่พักอาศัย ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา รายงานว่า พายุไต้ฝุ่นครั้งนี้ทำให้เกิดอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดในฟิลิปปินส์ในรอบกว่า 40 ปี

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ได้รายงานว่า จากการประสานกับทางการฟิลิปปินส์และกับคนไทยที่พำนักอยู่ในฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 450 คน (โดยในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาประมาณ 100 คน ที่เหลือเป็นพนักงานบริษัทของไทย และข้าราชการสถานเอกอัครราชทูตและครอบครัว) ทุกคนปลอดภัยและไม่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้และสายการบินไทย สามารถทำการบินได้ตามปกติ

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีสารถึงประธานาธิบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์แสดงความเสียใจต่อเหตุภัย พิบัติที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แล้ว

( <!– /* Font Definitions */ @font-face {font-family:”Angsana New”; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:”Cordia New”; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:””; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:”Times New Roman”; mso-fareast-font-family:”Times New Roman”; mso-bidi-font-family:”Angsana New”; mso-ansi-language:EN-US; mso-fareast-language:EN-US;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Sect30 กันยายน 2552)

การจัดโครงการดูแลสุขภาพจิตและสร้างเครือข่ายชุมชน
ที่สาธารณรัฐเกาหลี

เมื่อ วันที่ 4 – 7 กันยายน 2552 คณะจากกรมการกงสุลนำโดยนายจักรบุญ-หลง อธิบดีกรมการกงสุล ร่วมกับกรมสุขภาพจิต นำโดย นายเแพทย์ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้เดินทางมาสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อดำเนินโครงการดูแลสุขภาพจิและสร้างเครือ ข่ายชุมชนที่สาธารณรัฐเกาหลี โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทักษะของอาสาสมัครชาวไทยที่ปฏิบัติ หน้าที่ให้ความช่วยเหลือชาวไทยในองค์กร NGOs ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่ผู้ประสบความเดือนร้อน นอกจากนี้คณะ ฯ ยังเน้นการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพจิตของตนเองเพื่ออาสาสมัครเหล่านี้จะ ได้ทำงานอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ
ตลอด ระยะเวลา 2 วัน ของการดำเนินโครงการ นอกจากการฝึกอบรมแก่อาสาสมัครต่าง ๆ จำนวนประมาณ 60 คน แล้ว คณะ ฯ ยังให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ และฝ่ายแรงงานอีกด้วย รวมทั้งการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการกับความเครียด และข้อคิดในการใช้ชีวิตในต่างประเทศแก่ชุมชนชาวไทยและแรงงานไทยกว่า 150 คน อีกด้วย

( 30 กันยายน 2552)


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์  ย้ายที่ทำการ
สถานเอกอัคร ราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์  ได้แจ้งย้ายที่ทำการไปยังที่ทำการแห่งใหม่ตั้งอยู่เลขที่ 876, Chaussee de Waterloo, 1000 Brussels ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2552 เป็นต้นไปโดยยังคงใช้หมายเลขโทรศัพท์และโทรสารเดิม
(30 กันยายน 2552)



กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ด้วยกรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับ คำร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งสง ระหว่างวันที่ 22 – 25 กันยายน 2552
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก แก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัดใกล้เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้ จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทางยังสำนักงานหนังสือเดินทางต่างๆ
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง

บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน

กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)

1.  บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)2.  ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)3.  บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)

4.  บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน

4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)

4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)

4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง

5.  ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)

(16 กันยายน 2552)


เปิดให้บริการแล้ว

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต จะเปิดให้บริการแก่ประชาชนที่ต้องการขอหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป และหนังสือเดินทางราชการ โดยผู้ขอหนังสือเดินทาสามารถไปติดต่อขอรับบริการได้ที่สำนักงานหนังสือเดิน ทางชั่วคราว ภูเก็ต ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัด (หลังใหม่) ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000  โดยขอให้นำเอกสารหลักฐานในการขอรับริการไปแสดง ดังนี้

การขอหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป

– ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว นำบัตรประชาชน ฉบับจริง ที่ยังไม่หมดอายุไปแสดงเพียงอย่างเดียว

– ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่อายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ให้นำบัตรประชาชนฉบับจริงไปแสดง พร้อมกับ ให้บิดา และมารดา ไปลงนามให้ความยินยอมด้วย โดยบิดา และมารดาต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง หรือหากบิดาและมารดาไม่สามารถไปได้ก็ให้นำหนังสือยินยอมของบิดาและมารดา ที่ทำจากที่ว่าการอำเภอไปแสดงแทนก็ได้

– ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ที่อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ให้นำสูติบัตรฉบับจริงไปแสดง และ ให้บิดา และมารดาไปลงนามให้ความยินยอม หากบิดาและมารดาไม่สามารถเดินทางไปด้วยได้ ให้ทำหนังสือยินยอม และหนังสือมอบอำนาจจากที่ว่าการอำเภอมอบให้ผู้ได้รับมอบอำนาจถือไปแสดงแทน ทั้งนี้  ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการลงนามให้ความยินยอมแทนต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน ไปแสดงด้วย

การขอหนังสือเดินทางราชการ

– ผู้ขอต้องนำบัตรประจำตัวข้าราชการฉบับจริงไปแสดง พร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้าน
– ผู้ขอต้องมีบันทึกจากส่วนราชการต้นสังกัดที่อนุมัติให้เดินทางไปราชการต่างประเทศได้

– ผู้ขอต้องนำหนังสือจากหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่มีถึงปลัดกระทรวงการ ต่างประเทศเพื่อขอให้ออกหนังสือเดินทางราชการแก่ผู้ขอมาแสดง ค่าธรรมเนียม

– หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป และหนังสือเดินทางราชการ มีค่าธรรมเนียมเล่มละ 1,000
บาท และค่าธรรมเนียมการส่งไปรษณีย์อีก 35 บาท

ระยะเวลาการได้รับเล่ม

– ผู้ขอจะได้รับเล่มภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันขอทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้การติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม

– สามารถสอบถามไปยังสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่หมายเลขโทรศัพท์

076-222083 , 076 – 222080 , 076- 222081

(14 กันยายน 2552)


เตือนหญิงไทยค้ายาโทษประหาร

กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เตือนหญิงไทยถูกชักนำเข้าสู่กระบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ ผู้ถูกจับกุมอาจต้องโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต

ปัจจุบันคนไทยถูกชักนำเข้าสู่กระบวนการค้ายาเสพติดในฐานะผู้ลักลอบขนยาเสพ ติดจากแหล่งผลิตในประเทศที่สาม (อินเดีย และปากีสถาน) ไปยังแหล่งจำหน่ายในประเทศจีน ผู้จ้างวานส่วนใหญ่จะเป็นชาวแอฟริกันตะวันตกที่เข้ามาในประเทศไทย กลุ่มคนเหล่านี้จะเริ่มต้นด้วยการใช้ “นกต่อ” ที่เป็นผู้หญิงไทยซึ่งอาจเป็นภรรยาของตนติดต่อกับ “เหยื่อ” หญิงไทยที่พร้อมจะเสี่ยงเป็นผู้ขนลำเลียงยาเสพติด นกต่อจะให้เหยื่อเดินทางไปยังแหล่งยาเสพติด โดยออกค่าเดินทางพร้อมเงินติดตัวไม่รวมค่าจ้าง เมื่อได้รับของจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่จะนำส่งยาเสพติด คือประเทศจีน ปัจจุบันมีตัวเลขนักโทษไทยที่ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบขนยาเสพติดเข้าประเทศ จีนอยู่ถึง 60 ราย
ที่น่าเป็นห่วงคือ กว่าครึ่งของนักโทษที่ถูกจับกุมรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าโทษที่ได้รับหนักเพียง ไร กลุ่มคนเหล่านี้มีอายุในวัยทำงานเฉลี่ย 20-30 ปี ซึ่งผู้ถูกจับกุมถูกนายหน้า คนกลาง ชักจูงว่าหากถูกจับได้รับโทษจำคุกเพียง 5-10 ปี เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงโทษที่จะได้รับนั้นเป็นโทษสูงสุดคือประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนั้นยังมีหญิงไทยจำนวนหนึ่งต้องโทษในอเมริกาใต้ จำนวน 17 คน ในข้อหาลักลอบขนยาเสพติด
กองคุ้มครองฯ กรมการกงสุล จึงขอเตือนหญิงไทยขอให้คำนึงถึงผลร้ายของการค้ายาเสพติดที่ทำลายสังคมและ เยาวชน และตระหนักว่าไม่มีทางรอดต้อโทษสูงสุดประหารชีวิต ครอบครัวเดือดร้อนยิ่งกว่าเดิม หรือหากผู้ใดพบเบาะแสที่จะช่วยป้องกันปัญหานี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองคุ้มครองฯ กรมการกงสุล โทร. 02-575-1046-51

(3 กันยายน 2552)

ระวัง ตกเป็นเหยื่อหลอกลวงไปค้าประเวณี

กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ว่าหญิงไทย 2 รายร้องขอความช่วยเหลือให้ส่งตัวกลับประเทศไทย จากการสอบสวนหญิงไทยทั้งสอง ทำงานเป็นหมอนวดแผนโบราณที่จตุจักร เมื่อประมาณเดือน มิถุนายน 2552 ได้รับการชักชวนจากหญิงไทย (ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ) ซึ่งเป็นลูกค้าที่มารับบริการนวดแผนโบราณ ชักชวนให้ไปทำงานนวดแผนโบราณที่อินโดนิเซีย โดยมีชายชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน (ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ) เป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายต่างๆให้ก่อนโดยได้เสนอให้หญิงไทยทั้งสองจ่ายเงิน คืนให้เมื่อเสร็จสิ้นการทำงาน และเดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้ว หญิงไทยทั้งสองจึงตัดสินใจเดินทางไปทำงานนวดแผนโบราณที่ประเทศอินโดนิเซีย ตามคำชักชวน เมื่อเดินทางไปถึงกรุงจาการ์ตาได้มีชายชาวจีนไปรับที่สนามบิน และถูกนำตัวไปพักที่บ้านย่านชานเมืองซึ่งชายผู้นั้นแจ้งว่าเป็นบ้านพักของ พนักงาน และถูกยึดหนังสือเดินทางโดยอ้างว่าเป็นกฎของบริษัทเพื่อป้องกันมิให้พนักงาน หนีกลับประเทศไทยก่อนกำหนด วันต่อมาได้มีรถยนต์ไปรับหญิงไทยทั้งสอง และนำไปที่โรงแรม Mariobolo Hotel & Spa ซึ่งเป็นโรงแรมย่านนักเที่ยวกลางคืน และบังคับให้หญิงไทยทั้งสองทำงานค้าบริการทางเพศไม่ใช่นวดอย่างที่ตกลงกัน ไว้ และให้ทำงาน เป็นกะ 12 ชม. 13.00 – 01.00 น.หรือ14.00 – 02.00 น. หญิงไทยทั้งสองร้องขอที่จะกลับประเทศไทย และได้รับการปฎิเสธและให้หญิงไทยทั้งสองรับแขกจนครบ 30 คนก่อนเพื่อใช้หนี้ให้หมดก่อนจึงจะปล่อยตัวให้กลับประเทศไทย หญิงไทยทั้งสองจึงได้ทำงานให้บริการทางเพศระยะหนึ่งแต่เมื่อครบกำหนดกลับ หญิงไทยทั้งสองก็ไม่ได้กลับประเทศไทย โดยถูกอ้างว่ายังใช้หนี้ไม่หมด ดังนั้นหญิงไทยทั้งสองจึงหลบหนีออกมาจากที่พัก และมาขอความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูต เพื่อขอความช่วยเหลือในการส่งตัวกลับประเทศไทย

กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์เตือนคนไทยเกี่ยวกับการหลอกลวงใน ลักษณะนี้ อย่าได้หลงเชื่อเมื่อถูกชักชวนให้ไปทำงานนวดในต่างประเทศ จึงขอเตือนหญิงไทย ให้ทราบว่าการทำงานในต่างประเทศต้องมี

1. สัญญาจ้างงานที่นายจ้างนำให้สถานทูตไทยในต่างประเทศรับรอง

2. ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน

3. ต้องมีวีซ่าสำหรับทำงานเท่านั้น หากผู้ชักชวนไม่มี 3 สิ่งนี้ แสดงว่ามีเจตนาล่อลวง อย่าได้หลงเชื่อไปทำงานโดยผิดกฏหมายเป็นอันขาด

(3 กันยายน 2552)

คิดให้ดีก่อนตัดสินใจสมรสกับชาวต่างชาติ

กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศหลายแห่ง ว่าหญิงไทย ที่สมรสกับชาวต่างชาตินั้นมักจะเกิดปัญหาในหลายๆเรื่องตามมา โดยได้ขอให้ทางกระทรวงการต่างประเทศ ช่วยเหลือในปัญหาต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การสมรสอำพรางกับชาวต่างชาติเพื่ออำพรางไปทำงานยังต่างประเทศ แต่สุดท้ายก็ถูกจับได้ และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือแม้แต่ การสมรสด้วยความรัก เมื่อฝ่ายหญิงย้ายไปอยู่กินกับสามีในต่างประเทศ ต้องมีการปรับตัวอย่างมากทั้งภาษา วัฒนธรรมรวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน บางครั้งก็เกิดความเครียด ทำให้เกิดปัญหากับสามีต่างชาติจนมีปากเสียงจนถึงขั้นทำร้ายร่างกาย และอาจลงท้ายด้วยการหย่าร้างในที่สุด หรือเมื่อกำเนิดบุตรสามีต่างชาติบางรายต้องการแค่ลูกแต่ไม่ต้องการภรรยา บ่อยครั้งมีการหย่าร้างโดยหญิงไทยไม่สามารถเรียกร้องใดๆจากสามีชาวต่างชาติ ได้ บางรายชาวต่างชาติไม่ยินยอมให้ลูกอยู่กับแม่โดยการลักลอบพาลูกหนีไปจากบ้าน และไปอยู่ที่อื่น โดยหญิงไทยที่เป็นแม่ไม่สามารถตามหาพบ จึงเข้าขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ติดตามหาบุตรของตน หญิงไทยบางรายที่แต่งงานกับชาวต่างชาติอยู่กินจดทะเบียนเป็นสามี ภรรยา เมื่อหญิงไทยเกิดตั้งท้องและได้กำเนิดบุตร แต่สามีชาวต่างชาติไม่ยอมรับว่าเป็นพ่อเด็ก เพราะหญิงไทยกับชาวต่างชาติที่แต่งงานกันเกิดปัญหาระหองระแหงและไม่ได้อยู่ ด้วยกันตลอดเวลา ดังนั้นสามีชาวต่างชาติจึงไม่เชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นลูกตัวเองจริง หรือไม่จึงเกิดปัญหาหย่าร้างและฟ้องร้อง กันเกิดขึ้น
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จึงขอประชาสัมพันธ์เตือนหญิงไทยที่คิดจะสมรสอำพรางกับชาวต่างชาติเพื่อไปทำ งานนั้น เมื่อถูกจับได้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และจำคุก หรือ หญิงไทยที่คิดจะสมรสกับชาวต่างชาติ ควรศึกษารายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้มากก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงานหรือย้ายไปอยู่ กับสามีชาวต่างชาติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ควรคิดให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจสมรสกับชาวต่างชาติ

(3 สิงหาคม 2552)

การประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกประจำปี 2552 วันสุดท้าย



การประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกในวันสุดท้าย (28 สิงหาคม 2552) ภาคเช้าเริ่มต้นด้วยการบรรยายของศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร โดย นายนโรตม์ ศังขมณี ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และนายรังสรรค์ ร่วมวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักบริหารการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปเกี่ยวกับกระบวนการเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป นอกราชอาณาจักร ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงการต่างประเทศ กรมการปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในส่วนของการลงทะเบียน การกำหนดสถานที่เลือกตั้ง และการกำหนดระยะเวลาในการเลือกตั้ง เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนไทยในต่างแดนสามารถใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งได้เช่นเดียวกับ คนไทยในประเทศไทยทุกประการต่อจากนั้น เป็นการบรรยายเรื่อง การลักลอบค้ายาเสพติดของชาวแอฟริกันตะวันตก โดยพล.ต.ท.วุฒิ ลิปตพัลลภ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ซึ่งได้สรุปภาพรวมของกระบวนการค้ายาเสพติดทั่วโลก ต่อเนื่องด้วยการสรุปรายละเอียดของวงจรยาเสพติดโดย พ.ต.อ.อิทธิพล กิจสุวรรณ รองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 นำเสนอสถิติที่เกี่ยวข้องของชนชาติแอฟริกา พร้อมกับการยกตัวอย่างคดีสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นโดยมีภาพและวิดีทัศน์ประกอบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กงสุลรู้เท่าทันกระบวนการค้ายาเสพติด และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการตรวจลงตรา และการใช้เอกสารเดินทางต่างๆจากนั้นเป็นการบรรยายในหัวข้อการดูแลสุขภาพจิตในการทำงานกงสุลและการรับมือ ผู้มาติดต่อที่มีพฤติกรรมต่างๆ โดย คุณสุภาวดี นวลมณี นักวิชาการสาธารณสุข 9 ซึ่งได้เสนอแนะแนวทาง ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นในเชิงจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่กงสุลสามารถดูแลและจัดการกับผู้มาติดต่อขอรับ บริการที่บ่อยครั้งอาจจะมีความเครียดหรือพฤติกรรมไม่ปกติได้เป็นอย่างดี และสามารถนำหลักการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ในช่วงบ่าย ที่ประชุมได้มีโอกาสต้อนรับสื่อมวลชนอาวุโส 2 ท่าน คือ นายดำรง พุฒตาล อดีตสมาชิกวุฒิสภา และผู้ก่อตั้งนิตยสารคู่สร้างคู่สม และนายดำฤทธิ์ วิริยะกุล หัวหน้าข่าวภูมิภาค หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยคุณดำรงได้บรรยายในหัวข้อ งานกงสุลในสายตาสื่อมวลชน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับการทำงานด้านกงสุล และยังได้ย้ำถึงบทบาทของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลของไทยในการช่วยประสาน งานการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีในประเทศต่างๆ  ซึ่งมีส่วนสำคัญมากในการเผยแพร่ข้อมูลของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ชีวิตความเป็นอยู่ของนักการทูตในต่างแดน และยังเป็นประโยชน์ต่อการชี้แจงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย ให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติในประเทศนั้นๆ อีกด้วย  คุณดำฤทธิ์ ได้บรรยายในหัวข้อ งานกงสุลกับการประชาสัมพันธ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์มีผลต่อการดำเนินงานของกระทรวงการต่าง ประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานกงสุลที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และยังได้กล่าวย้ำถึงบทบาทของสื่อมวลชนในการเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการรับ เรื่องราวร้องเรียนต่างๆ ของคนไทยในต่างประเทศ การเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่การจัดกิจกรรมต่างๆ ของทั้งชุมชนคนไทยและของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และการเป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างความร่วมมือและความสามัคคีของคนไทยใน ต่างแดนด้วย

ปิดท้ายสำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกประจำปี 2552 นี้ เป็นการบรรยายหัวข้อการควบคุมดูแลจัดส่งรายได้งานการกงสุล โดยนางวัชรา มณีปกรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานตรวจสอบภายในระดับกระทรวงฯ  ได้สรุปสภาพปัญหาและแนะนำขั้นตอนรายละเอียดที่ถูกต้องการจัดส่งรายได้แผ่น ดินในส่วนของงานการกงสุล เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่มีข้อบกพร่อง ไม่ขัดต่อระเบียบที่เกี่ยวข้อง และป้องกันการทุจริต เนื่องจากบ่อยครั้งที่การทุจริตเกิดขึ้นโดยคาดไม่ถึงหรือเกิดจากความไว้ เนื้อเชื่อใจที่มากเกินไป จึงขอเน้นย้ำให้หัวหน้าฝ่ายกงสุล/เจ้าหน้าที่กงสุลควบคุมกำกับดูแลเจ้า หน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการอย่างเคร่งครัดด้วย

การประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกในครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี มีวิทยากรจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่กงสุลให้ความสนใจเข้าร่วม การประชุมเป็นจำนวนมาก และกรมการกงสุลจะจัดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลอีกในปี 2553

(28 สิงหาคม 2552)

การประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกประจำปี 2552 วันที่สอง

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมการกงสุล ได้จัดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ระหว่างวันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ ปาร์ค กรุงเทพฯ นั้น การประชุมฯ ในวันที่ 27 สิงหาคม เริ่มต้นขึ้นในภาคเช้าด้วยการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการใช้ดุลยพินิจในการตรวจลงตรา (Visa) และการถาม-ตอบปัญหาในส่วนของงานตรวจลงตรา” โดยวิทยากรได้แก่ นายคมกริช วรคามิน ผู้อำนวยการกองตรวจลงตราและกิจการคนต่างด้าวและคณะ ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการตรวจลงตราอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจลงตราให้แก่บุคคลสัญชาติเสี่ยง การตรวจลงตราโดยยกเว้นค่าธรรมเนียม การตรวจลงตราโดยใช้ดุลยพินิจเหตุผลด้านมนุษยธรรม รวมทั้งการออกเอกสารเดินทางแก่คนต่างด้าวในกรณีต่างๆ อาทิ บุคคลต่างด้าวเดินทางมาทำกิจธุระจำเป็นและเอกสารการเดินทางหมดอายุแต่ไม่มี สถานทูตสถานกงสุลของตนในประเทศไทยหรือใกล้เคียงที่จะออกหนังสือเดินทางใหม่ ให้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการสรุปผลความคืบหน้าของการทดลองใช้ระบบ e-consular service ซึ่งได้เริ่มใช้ในสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่นำร่องจำนวน 10 แห่ง โดยได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 4 เดือน โดยจะครบกำหนดในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากนั้น จะเปิดใช้ในเวอร์ชั่นแรกในสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกในต้นปี 2553 อันจะช่วยให้การดำเนินงานด้านกงสุลมีความก้าวหน้า ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในภาคบ่าย เป็นการถามตอบปัญหาในการรับคำร้องขอหนังสือเดินทางในต่างประเทศ โดยวิทยากรได้แก่ นายทรงพล สุขจันทร์ ผู้อำนวยการกองหนังสือเดินทางและคณะ ซึ่งที่ประชุมได้สอบถามและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อช่วยให้การรับคำร้องขอ หนังสือเดินทางในต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยไล่ตั้งแต่กระบวนการเขียนคำร้อง รายละเอียดด้านทะเบียนราษฎร์ จนถึงปัญหาด้านเทคนิคต่างในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ หลังจากนั้น ได้มีการบรรยายในเรื่อง ระบบการรับคำร้องระบบใหม่ โดยมีผู้แทนบริษัทจันวาณิชย์เข้าร่วมด้วย ผู้แทนบริษัทฯ แจ้งว่า อยู่ในช่วงการทดลองปรับปรุงระบบการรับคำร้องเวอร์ชั่น 3 (ปัจจุบันใช้ระบบเวอร์ชั่น 2) ซึ่งคาดว่าจะจัดส่งให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ได้เร็วๆ นี้ ระบบการรับคำร้องแบบใหม่จะเพิ่มข้อมูลทะเบียนราษฎร์/บัตรประชาชนล่าสุดของ ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่กงสุลสามารถใช้เปรียบเทียบเพื่อพิจารณาคำร้อง และสามารถตัดสินใจรับคำร้องดังกล่าวได้รวดเร็วขึ้น

อนึ่ง การประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลในวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม นี้ การบรรยายจะเป็นหัวข้อ เรื่อง การประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร การลักลอบค้ายาเสพติดของชาวแอฟริกันตะวันตก (โดย พล.ต.ต.วุฒิ ลิปตพัลลภ ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1) การดูแลสุขภาพจิตในการทำงานกงสุลและการรับมือผู้มาติดต่อที่มีพฤติกรรมต่างๆ งานกงสุลในสายตาสื่อมวลชน (โดยคุณดำรง พุฒตาล ผู้ก่อตั้งนิตยสารคู่สร้างคู่สม) งานกงสุลกับการประชาสัมพันธ์(โดยคุณดำฤทธิ์ วิริยะกุล หัวหน้าข่าวภูมิภาค หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) และ การควบคุมดูแลจัดส่งรายได้งานการกงสุล

(28 สิงหาคม 2552)

รัฐมนตรีว่าการฯ เป็นประธานเปิดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลไทยทั่วโลก ประจำปี 2552


เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลไทยทั่วโลก ประจำปี 2552 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-29 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ ปาร์ค การประชุมฯ ครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลก และสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เข้าร่วมประชุมฯ รวม 93 คน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า งานด้านกงสุลเป็นงานบริการประชาชน เปรียบเสมือนประตูด่านแรกของประเทศ ซึ่งคอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า กระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับงานด้านนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายการทูตเพื่อประชาชน นอกจากนี้ งานด้านกงสุลต้องดำเนินการตอบสนองเป้าหมายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญต่อภาคประชาสังคม
รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวชมเชยความพยายามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลไทย อาทิ การช่วยเหลือคนไทยที่เผชิญปัญหาในต่างแดน การจัดให้มีการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วม ทาง การเมืองของชาวไทยที่อาศัยในต่างประเทศ และหวังว่า เจ้าหน้าที่กงสุลที่เข้าร่วมการประชุมฯ ครั้งนี้ จะช่วยแลกเปลี่ยนความเห็นและถกปัญหาที่เกี่ยวกับงานด้านกงสุลเพื่อปรับใช้ กับงานในหน้าที่

(27 สิงหาคม 2552)

การประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกประจำปี 2552

วันที่ 26 สิงหาคม 2552 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกประจำปี 2552 ขึ้นที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีเจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกเข้าร่วม ประชุมจำนวนทั้งสิ้น 93 คน
ในระหว่างพิธีเปิดการประชุม นายจักร บุญ-หลง อธิบดีกรมการกงสุล ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า งานกงสุลนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ทำให้คนไทยเดินทางไปใช้ชีวิตในต่างประเทศมาก ขึ้นทุกแห่งทั่วโลก ส่งผลให้งานด้านกงสุลขยายตัวขึ้นเป็นภารกิจในระดับโลก การประชุมในวันนี้ มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลกเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี จากเดิมซึ่งจัดประชุมแยกรายภูมิภาค นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมฯ ด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญกับงานกงสุลไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่างานด้านอื่นๆ ต่อจากนั้น นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเปิดการประชุมฯ พร้อมกับได้มอบแนวนโยบายโดยสังเขป ดังนี้
• งานด้านการกงสุลเป็นงานการทูตเพื่อประชาชน และเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง รวมทั้งเป็นประตูแรกของประเทศไทยสู่โลกภายนอก นอกจากนี้ ยังมีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่าราชการต้องให้บริการประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันด้วย ดังนั้น จึงขอให้เจ้าหน้าที่กงสุลปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์และโปร่งใส ทำงานเพื่อสังคมโดยยืนหยัดบนพื้นฐานของความถูกต้อง โดยรัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านงบประมาณ
• ในปัจจุบันกรอบงานบริการประชาชนได้ขยายตัวออกไปครอบคลุมหลายมิติ แต่ก็เชื่อมั่นว่ากระทรวงการต่างประเทศจะสามารถสนองตอบต่อความต้องการดัง กล่าวได้ โดยขอให้เจ้าหน้าที่กงสุลสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน คือเน้นการเข้าหาประชาชนในพื้นที่ สร้างสายสัมพันธ์ สร้างสรรค์ความสามัคคีกับชุมชนชาวไทยในต่างแดน โดยการสร้างกิจกรรมต่างๆ และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงาน รวมทั้งกำกับการทำงานในฝ่ายกงสุลของตนอย่างใกล้ชิด เพื่อประโยชน์ของราชการและการบริการประชาชนในภาพรวมต่อไป

ภายหลังจากพิธีเปิด ในภาคเช้ามีการบรรยายโดยผู้อำนวยการกองสัญชาติและนิติกรณ์ และนางสาวรัศมี คุ้มไพโรจน์ นักการทูตชำนาญการ กองสัญชาติและนิติกรณ์ในหัวข้อเรื่อง “ปัญหาการจดทะเบียนคนเกิดและรับรองเอกสาร / การถาม-ตอบงานสัญชาติและนิติกรณ์” ส่วนในภาคบ่ายเป็นการบรรยาย/ซักถามในส่วนของกองคุ้มครองผลประโยชน์คนไทยใน ต่างประเทศ โดยมี นายมนชัย พัชนี ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายหลัก ในหัวข้อดังนี้

1) การปฏิบัติงานในการช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ในต่างประเทศ วิทยากรรับเชิญ คือ นางญาณี เลิศไกร ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2) การรับรองเอกสารจ้างงานและการช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ วิทยาการรับเชิญ คือ นายปกรณ์ อมรชีวิน รองอธิบดีกรมการจัดหางาน และนายอนันต์ กลั่นขยัน ศูนย์บริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
3) การช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยากตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วย เหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ.2549 วิทยากรรับเชิญคือ นางมาลินี นำชัยศรีค้า สำนักบริหารการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
4) ปัญหาประมง และถามตอบงานคุ้มครองฯ โดย ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ

กรมการกงสุลเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ เป็นประจำทุกปี โดยสำหรับการประชุมในปีนี้ จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ

(27 สิงหาคม 2552)


การปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรให้เป็นปัจจุบัน

ด้วยคณะกรรมการกำหนดแนวทางและวิธีการเพื่อปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิ เลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกราชอาณาจักรให้เป็นปัจจุบัน ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)  ได้พิจารณาให้มีการประชาสัมพันธ์แจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด และนอกราชอาณาจักรว่า จะยังยืนยันที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งที่เดิมหรือต้องการที่จะถอนชื่อออกจาก บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดหรือนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร  นั้น กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมการกงสุล  ได้รับมอบหมายให้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในการ เลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปหรือสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป  ตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 ซึ่งกรมการกงสุลได้ขอความร่วมมือสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่  ทั้ง 91 แห่งให้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรทราบเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวไปแล้ว   และขอประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศให้ทราบโดยทั่วกัน ดังต่อไปนี้
1. ผู้มีสัญชาติไทยที่มีถิ่นพำนักอยู่ในต่างประเทศและมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ หาก ยังไม่เคยแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร และประสงค์จะขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร  ขอให้ท่านแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯ  ต่อสถานเอกอัครราชทูต /สถานกงสุลใหญ ในประเทศที่ท่านมีถิ่นพำนักอยู่
2. ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรอยู่แล้ว  หากท่านต้องการจะย้ายถิ่นที่อยู่ไปอยู่ประเทศใหม่และประสงค์จะเปลี่ยนแปลงสถานที่ขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯ ใหม่ใน ประเทศที่ท่านจะไปพำนักอยู่  ขอให้ท่านแจ้งความประสงค์ต่อสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ที่ท่านมีชื่อ อยู่หรือในประเทศใหม่ที่ท่านจะไปพำนักอยู่
3. ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร  ที่จะเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวรและจะไปขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯ ในประเทศไทย ขอให้ท่านแจ้งถอนชื่อต่อ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่  หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่  เพื่อไปขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯ ในประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้  ได้แนบแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ตามข้อ 1-3  มาพร้อมนี้ Download

(13 สิงหาคม 2552)

กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดน่าน ตาก ตรัง และนครศรีธรรมราช

ด้วยกรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วย หนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภท บุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางของพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ดังนี้

1. จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2552 จำนวน 5 วัน(ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด)

2. จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 24 – 28 สิงหาคม 2552 จำนวน 5 วัน (ณ หอประชุมอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก)

3. จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 5 กันยายน 2552 จำนวน 6 วัน (ณ อาคารเอนกประสงค์เทศบาลนครตรัง)

4. จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 7 – 11 กันยายน 2552 จำนวน 5 วัน (ณ ห้องประชุมศรีปราชญ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช)

ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัด ใกล้เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทาง ยังสำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆ

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง

บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน

กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)

1.  บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)
2.  ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)

3.  บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)

4.  บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน

4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)

4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)

4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง

5.  ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)



ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง
1.  แสดงเอกสาร2.  วัดส่วนสูง

3.  กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์

4.  สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป

5.  ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง

1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ

1.  ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย

2.  ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(30 กรกฎาคม 2552)

เหตุระเบิดในกรุงจาการ์ตา

ในช่วงเช้าของวันที่ 17 ก.ค.52 ได้เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้ง ที่โรงแรม Ritz-Carlton และ โรงแรม J.W. Marriott ในกรุงจาการ์ตา โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการแถลงว่าเป็นการก่อการร้าย หรือเป็นความรับผิดชอบของกลุ่มใด

กระทรวงการต่างประเทศขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอประณามผู้ที่อยู่เบื้องหลังการกระทำดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและความเสียหายแก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์

ในเบื้องต้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ตรวจสอบแล้ว ไม่ปรากฏว่า มีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้แต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ให้ดูแลคนไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้แจ้งเตือนคนไทยในประเทศอินโดนีเซีย ให้เพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะการเดินทางไปในย่านชุมชนหนาแน่น หากมีผู้ใดที่ประสงค์จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา หมายเลขโทรศัพท์ + 62 8111 86253

(17 กรกฎาคม 2552)

ศ.ดร.สุจิต  บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง ได้ปาฐกาพิเศษ
เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางการเมืองแก่ชุมชนไทยในนครแฟรงก์เฟิร์ตและกรุงเบอร์ลิน

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2552 และวันที่ 31 พ.ค. 2552 ศ.ดร. สุจิต บุญบงการ ประธารสภาพัฒนาการเมือง ได้ปาฐกาพิเศษ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางการเมืองแก่ชุมชนไทยในนครแฟรงก์เฟิร์ตและ กรุงเบอร์ลิน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนไทย ในต่างประเทศของกรมการกงสุล โดย ศ. ดร. สุจิตฯ ได้มีบรรยายเพื่อให้ผู้รับฟังมีความเข้าใจการพัฒนาทางการเมืองการปกครองของ ไทย สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน

การจัดการบรรยายดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้แทนชุมชนชาวไทย นักศึกษา สื่อมวลชน ตลอดจนเจ้าของกิจการต่างๆ ของทั้ง 2 เมือง โดยมีความสนใจในการตั้งคำถาม เกี่ยวกับการสร้างความสำนึกทางการเมืองของประชาชน บทบาทของสื่อมวลชนต่อการพัฒนาทางการเมือง โดย ศ. ดร. สุจิตฯ ได้ตอบคำถามว่าสภานักพัฒนาการเมืองมีหน้าที่สำคัญคือการกระตุ้นให้ประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วม แต่มิใช่เป็นการสอนทางการเมือง โดยจะต้องให้ประชาชนมีการกระทำและการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงซึ่งเริ่ม จากชุมชนก่อน

ต่อมาในวันที่ 2 มิ.ย. 2552 ศ.ดร.สุจิตฯ บรรยายให้แก่ชาวเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน โดยมีผู้ร่วมรับฟังประกอบด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา อดีตนักศึกษาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สื่อมวลชน ตลอดจนผู้ที่สนใจในประเทศไทย โดยอธิบายให้มีความเข้าใจในเหตุการณ์ทางการเมืองไทยที่ผ่านมา บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงดำเนินการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของสังคมไทยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด

(26 มิถุนายน 2552)

การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552  และวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ให้ขยายเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว แก่นักท่องเที่ยวทุกสัญชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  20 มกราคม 2552  ออกไปเป็น 1 รอบปี

มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว ส่งผลให้คนต่างชาติทุกสัญชาติที่ยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่อง เที่ยว (Tourist Visa) ที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยทุกแห่งทั่วโลก รวมถึงการขอรับการตรวจลงตราที่ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on arrival) ของคนชาติที่มีสิทธิ จำนวน 20 สัญชาติ และไต้หวัน ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ระหว่างวันที่ 25  มิถุนายน 2552 ถึง วันที่  4 มีนาคม  2553 การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเฉพาะการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว เท่านั้น

ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจลงตรา(วีซ่า)ของไทย

( 25 มิถุนายน 2552)

Tourist Visa fee  exemption Scheme

All foreigners who apply for Tourist Visa at the Royal Thai Embassies and the Royal Thai Consulates-General worldwide, including eligible foreigners who apply for Visa on Arrival at designated checkpoints, will be exempted from Tourist Visa fee from  25  June B.E. 2552 (2009) to  4March  B.E. 2553 (2010).  Such arrangement is for Tourist Visa only. More information on Thailand’s VisaMore information on Thailand’s Visa

(25 มิถุนายน 2552)


การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านกงสุล ภายใต้หัวข้อ “การรับมือกับความเครียดเมื่อต้องใช้ชีวิตในต่างประเทศ”

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความ รู้ด้านกงสุล ภายใต้หัวข้อ “การรับมือกับความเครียดเมื่อต้องใช้ชีวิตในต่างประเทศ” เพื่อให้ประชาชนที่จะเดินทางไปใช้ชีวิตในต่างประเทศเกินกว่า 1 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ได้มีโอกาสเตรียมความพร้อมทางจิตใจก่อนเบื้องต้นก่อนการเผชิญกับความเปลี่ยน แปลงทางสังคม วัฒนธรรม สภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยเป็นอย่างมาก
การจัดงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวม 180 คน กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทูตเพื่อประชาชนของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ที่จะให้ความรู้กับประชาชนในหัวข้อที่เป็นที่สนใจและเป็นประโยชน์ ซึ่งกรมการกงสุลมีแผนจะจัดกิจกรรมลักษณะนี้ตลอดปี

(24 มิถุนายน 2552)

ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย “การรับมือกับความเครียดเมื่อต้องใช้ชีวิตในต่างประเทศ”


กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้าน กงสุล ภายใต้หัวข้อ “การรับมือกับความเครียดเมื่อต้องใช้ชีวิตในต่างประเทศ” ในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เวลา 9.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพ หมายเลขติดต่อ 02-981-7171

(18 มิถุนายน 2552)

กรมการกงสุลจัดบริการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ จันทบุรี และระยอง

ด้วยกรมการกงสุลมีกำหนดจัดส่งหน่วย หนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภท บุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางของพระภิกษุและหนังสือเดินทางราชการ) ดังนี้

1. จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 13 – 17 กรกฎาคม 2552 จำนวน 5 วัน(ห้างบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาเพชรบูรณ์)

2. จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม 2552 จำนวน 5 วัน (ณ ศาลาประชาคม จังหวัดชัยภูมิ)

3. จังหวัดจันทบุรี ระหว่างวันที่ 27 – 31 กรกฎาคม 2552 จำนวน 5 วัน (ณ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี(หลังใหม่)

4. จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 3 – 7 สิงหาคม 2552 จำนวน 5 วัน (ณ หอประชุมศูนย์ราชการ จังหวัดระยอง)

ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดข้างต้นและจังหวัด ใกล้เคียงให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำหนังสือเดินทาง ยังสำนักงานหนังสือเดินทาง ต่าง ๆ

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง

บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิกการใช้งาน

กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)

1.  บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้สูติบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ฉบับจริง)

2.  ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)

3.  บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง)

4.  บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน

4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของ มารดาแต่ผู้เดียว ให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)

4.2 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนาม ให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)

4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำ มาแสดง

5.  ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาตัวจริง (หากมี)

ขั้นตอนทำหนังสือเดินทาง

1.  แสดงเอกสาร

2.  วัดส่วนสูง

3.  กรอกชื่อภาษาอังกฤษและที่อยู่ไปรษณีย์

4.  สแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป

5.  ชำระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียนการทำหนังสือเดินทาง

1. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 1,000.-บาท
2. คำจัดส่งไปรษณีย์ (EMS)       35.-บาท

คำแนะนำ

1.  ผู้มีหนังสือเดินทางที่อายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเก่ามายกเลิกด้วย

2.  ผู้รับบริการจะได้รับเล่มหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร.02-981-7278 , 02-981-7171 ต่อ 2101-5

(15 มิถุนายน 2552)