Category Archives: Pre-Departure Guide

ข้อแนะนำในการโดยสารเครื่องบิน

การโดยสารทางเครื่องบินมีขั้นตอนคือ

1. การจองตั๋วและการจัดเตรียมสิ่งของ
2. การเช็คอิน
3. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาออก
4. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาออก
5. การเตรียมพร้อมขึ้นเครื่อง
6. ข้อควรปฎิบัติเมื่ออยู่บนเครื่อง และการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน
7. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า
8. การรับกระเป๋าเดินทางจากสายพาน
9. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาเข้า

รายละเอียดในแต่ละขั้นตอน

สำหรับเส้นทางไทย-ออสเตรเลีย

1. การจองตั๋วและการจัดเตรียมสิ่งของ
โดยปกติการจองตั๋ว เราจะพิจารณาจากรายละเอียดเช่น ราคาตั๋วเครื่องบิน ระยะเวลาการเดินทาง  สิ่งอำนวยความสะดวกภายในเครื่องบิน การบริการ และ ความเข้มงวดในเรื่องของน้ำหนักสิ่งของที่จะขนได้ไม่เท่ากัน ตั๋วแต่ละชนิดก็อนุญาตให้ขนน้ำหนักได้ต่างๆ กันไป ดังนั้น จึงต้องพูดถึงเล็กน้อย และให้ตรวจสอบให้มั่นใจว่าตกลงได้น้ำหนักเท่าไหร่

โดยทั่วไปแล้ว สำหรับเส้นทางไทย-ออสเตรเลีย ในราคาปกติ (หรือโปรโมชั่นปกติ) ตั๋วธรรมดาจะได้น้ำหนัก 20 กิโล และตั๋วนักเรียน ได้เพิ่มเป็น 30 กิโล แต่ถ้าเป็นสายการบินโลวคอส จะเข้มงวดเรื่องน้ำหนักมาก ให้ 20 ก็ 20 เกินมาก็โดนปรับ ดังนั้นต้องระวังมากเป็นพิเศษ

มีข้อควรระวังอีกอย่างนึงในการจัดกระเป๋าก็คือ ตามกฎการบินระหว่างประเทศแล้วกระเป๋าแต่ละใบจะต้องน้ำหนักไม่เกิน 32 กิโล ถ้าเกินนั้นมักจะถูกให้เอาของออกไม่ให้เกินนี้เพราะถ้าพนักงานขนกระเป๋าร้อง เรียนสายการบินจะถูกปรับ

ส่วนกระเป๋าขึ้นเครื่องนั้น ไม่ว่าจะสายการบินไหน คลาสอะไร โดยทั่วไปแล้วเค้าก็ให้แค่ 7 กิโล + กระเป๋าโน้ตบุคหรือกระเป๋าเอกสารอีก 1 ใบ (แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้เข้มงวดเวอร์อะไรขนาดนั้น ขอให้ไม่ดูแล้วหนักเกินไป หรือใหญ่เกินไป

ก่อนเดินทางไปสนามบิน ให้มั่นใจว่ามีเอกสารเหล่านี้ติดตัว
– พาสปอร์ต
– วีซ่า  หากเป็นวีซ่านักเรียนควรเตรียมเอกสารใบตอบรับเข้าเรียนของโรงเรียนติดตัวไว้ด้วย
– ตั๋วเครื่องบิน
– ชื่อและเบอร์ติดต่อของคนที่จะมารับปลายทาง

2. การเช็คอิน
ขั้นตอนการเช็คอิน เมื่อไปถึงสนามบินก็มองหาเคาน์เตอร์สายการบิน เตรียม ตั๋วกับพาสปอร์ตให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวกก็เอาตั๋วเครื่องบินแนบไว้ในหน้าพาสปอร์ตที่มีวีซ่าของเราไป เลย เวลาเค้าเปิดหาจะได้เปิดง่ายๆ แต่ถ้าเป็นวีซ่าแบบ e-visa ซึ่งไม่มีสติกเกอร์แปะในวีซ่า ก็เอาจดหมายแนบให้เค้าดูด้วย

เราจะ ต้องยกกระเป๋าที่จะโหลดใต้เครื่องขึ้นใส่สายพานให้เจ้าหน้าที่ด้วยตัว เอง ดังนั้นถ้ากระเป๋าใหญ่มากแล้วตัวเล็กยกไม่ไหวก็ให้หาคนไปช่วยยกหรือไม่ก็ แบ่งเป็นกระเป๋าเล็กสองกระเป๋าแทน ส่วนกระเป๋าโหลดไม่ต้องใส่ลงไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่บอกให้ชั่งดู ก็ต้องชั่งตามนั้น

สิ่งที่เจ้าหน้าที่จะถามเมื่อเช็คอินก็คือ เรามีสิ่งของไหนที่เป็นวัตถุอันตราย วัตถุระเบิด วัสดุติดไฟ และของผิดกฎหมายอื่นๆ หรือไม่ และโดยเฉพาะกระเป๋าที่จะถือขึ้นเครื่องนั้นจะมีข้อบังคับที่เข้มงวดกว่า กระเป๋าที่โหลดเสียอีก นั่นคือ สิ่งของที่ว่ามาทั้งหมดในข้างต้นห้ามนำขึ้นเครื่อง รวมทั้ง ของมีคม เครื่องมือพวกไขขวงต่างๆ ด้วย และที่สำคัญคือของเหลว

ระเบียบการถือของเหลวขึ้นเครื่อง
– ของเหลว(รวมทั้งเจลต่างๆ ) แต่ละชิ้นจะต้องบรรจุในภาชนะขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร ต่อให้มีปริมาณเหลือน้อย แต่ถ้าปริมาตรบรรจุของภาชนะเกิน 100 มิลลิลิตรก็เอาขึ้นไม่ได้
– ของเหลวทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร
– ของเหลวทั้งหมดต้องรวมกันใส่ถุงพลาสติกใส
ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้ จะต้องโดนยึดทิ้งเมื่อตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาออก

การเลือกที่นั่ง
โดยปกติเราสามารถเลือกที่นั่งได้ล่วงหน้า หรือบอกเจ้าหน้าที่ตอนเช็คอินก้อได้  มีคำแนะนำในการเลือกที่นั่งดังนี้
– ถ้าเป็นคนเข้าห้องน้ำบ่อย ให้เลือกนั่งติดทางเดิน อย่านั่งติดหน้าต่างเพราะจะได้ไม่ต้องเข้าๆ ออกๆ บ่อยๆ เป็นที่รำคาญแก่คนที่นั่งข้างๆ
– ถ้าไม่มีปัญหาการเข้าห้องน้ำ และอยากจะเห็นทิวทัศน์ข้างนอก ก็ให้เลือกนั่งติดหน้าต่าง
– ถ้าเดินทางตอนเย็นแล้วอยากจะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าที่ออสเตรเลีย ให้เลือกนั่งติดหน้าต่างด้านซ้าย
– ถ้าเดินทางตอนเช้าแล้วอยากเห็นพระอาทิตย์ตกดินระหว่างทาง ให้เลือกนั่งติดหน้าต่างด้านขวา
– หากอยากให้ได้บรรยากาศการนั่งเครื่องบิน ก็จะต้องนั่งมองจากหน้าต่างออกไปแล้วมองเห็นปีก ดังนั้น ก็ต้องขอที่นั่งที่ค่อนไปทางหางๆ

ถ้าอยากจะเอาลึกซึ้งกว่านี้ มีเว็บที่เค้าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเลือกที่นั่งของแต่ละสายการบิน หากรู้ว่าเดินทางสายการบินอะไร และเครื่องบินรุ่นไหน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้
http://www.seatguru.com

Boarding Pass
หลังจากเช็คอินแล้ว เราจะได้รับ Boarding Pass ซึ่งจะระบุข้อมูลสำคัญที่แต่ละสายการบิน
– เที่ยวบิน / Flight Number
– สกุล/ชื่อ ของผู้เดินทาง
– คลาสที่เดินทาง
– วันที่เดินทาง / Departure Date
– เวลาเดินทาง / Departure Time
– สนามบินต้นทาง
– กำหนดเวลาปลายทาง / Arival Time
– สนามบินปลายทาง
– ประตู / GATE
– ที่นั่ง / Seat
– เวลาขึ้นเครื่อง / Boarding Time (คือเวลาที่เราจะต้องไปถึงหน้าประตูเพื่อขึ้นเครื่อง ซึ่งเป็นคนละเวลากับเวลาเครื่องออก กรุณาอย่าสับสน เพราะถ้าสับสนตกเครื่องแน่นอน)

3. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาออก
เมื่อเช็คอินเรียบร้อยและได้รับ Boarding Pass แล้ว เราจะเหลือสิ่งของแค่กระเป๋าที่เราจะนำติดตัวขึ้นเครื่องเท่านั้น ดังนั้นก็เดินกันสบายตัว

สิ่งที่จะต้องทำเป็นขั้นตอนต่อไปคือการตรวจหนังสือเดินทางขาออก ที่สนามบินสุวรรณภูมิมีจุดตรวจหนังสือเดินทางอยู่สองจุดใกล้ๆ กัน จะเดินทางออกช่องไหนต้องถามเจ้าหน้าที่สายการบินเวลาเช็คอิน

ก่อนจะเข้าไปที่เคาน์เตอร์ตรวจพาสปอร์ต ให้หยิบเอกสารใบขาออกมากรอกให้เรียบร้อย
เมื่อไปถึงเคาน์เตอร์ ให้เรายื่นพาสปอร์ต บอร์ดดิ้งพาส และใบขาออกให้เค้า ถ้าในพาสปอร์ตมีวีซ่า ให้เอาเอกสารเสียบไว้หน้าที่มีวีซ่าเลยก็ได้ เจ้าหน้าที่จะได้เปิดหาได้ง่ายขึ้น เค้าก็จะไม่อะไรกับเรามากมาย เค้าแค่เช็ควีซ่าของเราว่ามีวีซ่าเรียบร้อยดีมั้ย หรือมีอะไรที่ทำให้เราไม่สามารถเดินทางได้รึเปล่า ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี เค้าก็จะคืนพาสปอร์ตมาให้เรา

4. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาออก
หลังจากตรวจหนังสือเดินทางขาออกเรียบร้อย เราก็จะต้องผ่านด่านตรวจรักษาความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องบิน ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิ มี Security Checkpoints หลายจุด ดังนั้นก็ให้ไปใช้บริการในจุดที่เป็นทางผ่านไปเกทที่เราจะเดินทาง

ในการตรวจสิ่งของนี้ เราจะต้องเอากระเป๋าทั้งหมดใส่ลงไปบนสายพานเพื่อผ่านเครื่องเอ็กซเรย์ ของอื่นๆ เช่น นาฬิกา เข็มขัดที่มีหัวเป็นโลหะ มือถือ กระเป๋าสตางค์ เหรียญ ง่ายๆ คือทุกสิ่งที่เป็นโลหะ ให้เอาใส่ถาดที่เค้าเตรียมไว้ แล้วก็ใส่เข้าไปในสายพานพร้อมๆ กับกระเป๋าของเรา

หลังจากนั้นตัวเราเองก็เดินผ่านประตูตรวจโลหะ ถ้าไม่มีอะไรร้องก็เรียบร้อย เดินกลับไปรับกระเป๋าคืนได้ ถ้ามันร้อง เจ้าหน้าที่ก็จะให้ถอยกลับไปเดินมาใหม่ ถ้ามีโลหะก็ให้ถอดออก หรือถ้าอยู่ในตำแหน่งถอดไม่ได้ เช่น กกน. ป้ายเหล็ก พวกนี้ก็เปิดให้เค้าดู เค้าอาจจะเอาเครื่องตรวจโลหะมาทาบๆ

5. การเตรียมพร้อมขึ้นเครื่อง
เมื่อผ่านด่านตรวจรักษาความปลอดภัยมาแล้ว ก็ถึงเวลาต้องไปรอหน้าเกทเตรียมตัวขึ้นเครื่อง หากไม่เคยเดินทางมาก่อน ให้เดินไปดูที่เกทให้เรียบร้อยว่าเกทอยู่ตรงไหนแน่ ถ้ามีเวลาเหลือเยอะ อาจจะออกไปเดินเล่นก่อนก็ได้ แต่จำทางไปให้ดีและดูหน้าจอเรื่อยๆ เผื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกท แต่ถ้ามีเวลาเหลือน้อย คือประมาณไม่เกิน 45 นาทีก่อนเครื่องออก ไม่ควรจะหนีไปไหน เพราะอันที่จริงเค้ามักจะเรียกขึ้นเครื่องก่อนเครื่องออกตั้งแต่ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเครื่องออกแล้วด้วยซ้ำ เพราะเดินทางไกลคนยอะ เค้าต้องให้เวลาคนขึ้นไปเตรียมตัวบนเครื่อง

โดยทั่วไป การเรียกเข้าเกทมักจะมีหลายประตูเพราะเครื่องใหญ่ เจ้าหน้าที่จะบอก หรือมีป้ายบอก ว่าชั้นที่นั่งของเราต้องออำประตูไหนของงวงที่เชื่อมกับเครื่อง จริงๆ ก็ไม่มีอะไรยากในขั้นตอนนี้ ขึ้นไปบนเครื่องแล้วก็หาที่นั่งให้เจอและเข้าที่นั่งให้เรียบร้อย

6. ข้อควรปฎิบัติเมื่ออยู่บนเครื่อง และการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน
เมื่อถึงที่นั่งของเราแล้ว สิ่งที่ควรจะทำคือ จัดกระเป๋าสัมภาระสิ่งของที่เราถือขึ้นเครื่องไปเก็บไว้ในที่ๆ เหมาะสม ได้แก่ บนช่องเก็บของเหนือศีรษะ หรือที่ช่องวางเท้าใต้เบาะข้างหน้าของเรา (เว้นแต่พอเครื่องจะขึ้นไม่มีคนนั่งข้าง อาจจะเอาไปใส่ช่องวางเท้าใต้เบาะของที่นั่งข้างๆ ก็ได้ เราจะได้นั่งสบายหน่อย)

เก็บกระเป๋าเสร็จ รัดเข็มขัดให้กระชับเรียบร้อย ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดว่าปิดเรียบร้อยแล้วหรือยัง รวมทั้งอุปกรณ์อิเลคทรอนิคอื่นๆ เช่น เครื่องเล่น MP3 / DVD / CD รวมทั้ง Notebook ด้วย
สำหรับกล้องดิจิตอลนั้น เป็นเรื่องที่เถียงกันแทบเป็นแทบตายในแวดวงการบิน เป็นสิ่งที่คนสนับสนุนแต่ละข้างก็เถียงหัวชนฝา ฝ่ายนึงบอกว่าใช้ไม่ได้เพราะจะเป็นการรบกวนการบิน แต่อีกฝ่ายนึงบอกว่าใช้ได้เพราะไม่ได้มีการส่งสัญญาณอะไร อีกอย่างนึงก็ไม่เคยปรากฎว่าเคยมีเหตุการณ์เครื่องบินตกเพราะการรบกวน ของกล้องถ่ายรูปสักที

สิ่งที่ต้องระวังมากๆ ในการถ่ายรูปตอนเครื่องขึ้นลงก็คือ เครื่องบินจะสั่นมากๆ ถ้าเอากล้องไปใกล้หน้าต่างเกินไป เลนส์อาจจะโขกกับหน้าต่างได้ แต่ถ้าห่างเกินไปก็จะติดขอบหน้าต่างหรือไม่ก็กลายเป็นถ่ายตัวหน้าต่างแทน

ก่อนเครื่องจะขึ้น แอร์จะบอกให้เราตั้งเบาะให้ตรง (ปกติมันตรงไว้อยู่แล้ว ก็อย่าเพิ่งทะลึ่งไปปรับเอนลง) เก็บที่วางถาดอาหารให้เข้าที่ และหน้าต่างต้องเปิดม่านขึ้นจนสุด ทั้งนี้เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย

นอกจากนั้นก่อนเครื่องเทคออฟ เค้าจะมี Safety Demo ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับระบบทั่วไปของเครื่องบิน และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ขอให้ให้ความสนใจกับคำแนะนำนี้ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า

เมื่อนั่งที่นั่ง ให้ดูว่าตำแหน่งที่เรานั่งไปจนถึงตำแหน่งทางออกฉุกเฉินนั้นห่างกันแค่ไหน มีที่นั่งกั้นไว้กี่ที่ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วไฟดับ เราอาจจะต้องใช้วิธีนับเบาะเพื่อให้ไปถึงประตูฉุกเฉินได้ง่ายที่สุด

ตามสถิติแล้วช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในการเดินทางทางเครื่องบินก็คือช่วง ที่เครื่องขึ้นหรือลง อุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้นจึงต้องให้ความสนใจกับความเป็นไปให้มาก และพร้อมจะปฏิบัติการหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น  เมื่อเครื่องอยู่ในสถานะที่สั่นมาก กัปตันจะเปิดไฟรัดเข็มขัด หมายความว่าให้รัดเข็มขัดและนั่งอยู่กับที่อย่าหนีไปไหน จนกว่าไฟจะดับ

ก่อนเครื่องจะถึงปลายทาง เค้าจะแจกแบบฟอร์มให้สองฟอร์ม ฟอร์มนึงสำหรับกรอกเรื่องการเดินทางเข้าประเทศ และอีกฟอร์มนึงเกี่ยวกับสุขภาพและการดีแคลร์สิ่งของ ผมไม่มีตัวอย่างให้ ถ้าฟอร์มที่สายการบินแจกไม่มีภาษาไทย เมื่อไปถึงสนามบินสามารถขอใหม่ที่เป็นภาษาไทยได้

สำหรับตอนเครื่องลงก็เหมือนกันกับตอนขึ้น คือต้องปรับที่นั่งให้เรียบร้อย พับถาดใส่อาหารให้เข้าที่ เปิดหน้าต่าง รวมทั้งเก็บข้าวของไว้ในที่ๆ เหมาะสมเหนือหัวหรือที่วางเท้าใต้ที่นั่งข้างหน้าเรา และที่สำคัญที่สุดคือเข็มขัดนิรภัยจะต้องรัดให้เรียบร้อย

7. การกรอกเอกสารและตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า
ผมคิดว่าสนามบินในออสเตรเลียน่าจะเหมือนๆ กันทุกที่ในเรื่องของการเข้าเมือง นั่นคือ พอมาถึงปุ๊บ ก็จะผ่านร้านขายของหาเงินเข้าประเทศก่อน เอ๊ย ไม่ใช่ อิอิ ผ่านด่านตรวจพาสปอร์ตก่อน แต่ว่าก่อนจะถึงด่าน ก็จะมีพื้นที่ให้เราสามารถนั่งกรอกเอกสารขาเข้าและดีแคลร์อะไรต่างๆ

เราไปเข้าแถวตรงที่เขียนว่า Other Passport Holders เตรียมเอกสารคล้ายๆ กับตอนขาออก ยื่นพาสปอร์ตให้เค้า หากไม่มีปัญหาอะไรก็จะผ่านมาถึงขั้นตอนรับกระเป๋าคืน เราก็เดินไปรับกระเป๋า

8. การรับกระเป๋าเดินทางจากสายพาน
การรับกระเป๋าคืนก็ไม่มีอะไรมาก แค่ไปยืนเฝ้าที่สายพานให้ตรงกับที่จอระบุว่าเป็นเที่ยวบินของเรา รอจนกระเป๋าเราวนมาถึงแล้วก็ค่อยหยิบไป

9. การตรวจสิ่งของที่ด่านรักษาความปลอดภัยขาเข้า
ได้กระเป๋ามาแล้วก็ผ่านด่านรักษาความปลอดภัยขาเข้า ซึ่งก็คล้ายๆ ขาออก แต่คราวนี้เค้าจะไม่สนใจเรื่องของเหลวแล้ว แต่จะสนใจเรื่องของที่เรานำเข้าประเทศว่ามีของต้องห้ามบ้างรึเปล่า โดยทั่วไป จะมีช่องสำหรับคนที่ระบุว่ามีของ Declare กับช่องทั่วไป ก็เลือกเข้าให้ถูกช่อง แต่ถ้าไม่มีให้เลือกเข้า ก็เข้าๆ ไปเหอะ จะมีเจ้าหน้าที่มายืนดักปากทาง ดูใบที่เรากรอก แล้วจะบอกว่าเราต้องไปไหน พอถึงที่ตรวจสิ่งของ เค้าจะดูใบของเราว่ามีของอะไรต้องห้ามหรือไม่ ถ้าบอกว่ามีอาหารจะถามว่ามันคืออะไร อาจจะขอให้เราเปิดให้ดู ซึ่งเสียเวลา ดังนั้นขอแนะนำว่าของกินไม่ต้องเอามาเพื่อให้ทุกอย่างมันราบรื่น

หากไม่มีอะไรผิดสำแดง เราก็จะผ่านด่านตรวจสิ่งของ และต้องเดินผ่านร้านขายของหาเงินเข้าประเทศอีกแล้ว  ระยะทางประมาณสามร้อยกิโลกว่าจะถึงทางออกได้

ถึงทางออก ก็เป็นอันว่ามาถึงออสเตรเลียโดยสมบูรณ์ มองหาคนมารับได้แล้วจ้า ใครนัดเจอกันหน้าประตูก็เจอกันหน้าประตู ใครนัดเจอกันที่อื่นก็ไปหาที่นัดเจอกันตามอัธยาศัย

ที่มาขอข้อมูล http://aussiethai.com

****************************************************************

รายละเอียดในการตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

(Click to see large image)

เพื่อความสะดวกต่อท่านผู้โดยสารในการเข้ารับการตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขอแนะนำท่าน ดังนี้

1.ก่อนเข้ารับการตรวจบัตรโดยสารหรือเช็คอิน (Check-In)

1.1 นำของเหลว เจล และสเปรย์ หรือวัสดุอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีขนาดบรรจุภัณฑ์เกินกว่า 100 มิลลิลิตร รวมทั้งวัตถุแหลมคม ทุกชนิดใส่ในกระเป๋าสัมภาระที่จะผ่านเช็คอินเพื่อลำเลียงส่งขึ้นเครื่องบิน

1.2 หากต้องการนำ ของเหลว เจล สเปรย์ ถือติดตัวขึ้นบนเครื่องบิน ของเหลวนั้น ต้องมีขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร โดยต้องนำใส่ไว้ในถุงพลาสติกใสแบบ Zip-Lock ขนาด 20×20 เซนติเมตร (มีจัดเตรียมไว้ที่โต๊ะหน้าเคาน์เตอร์เช็คอิน) ผูโดยสาร 1 คน ต่อ 1 ถุง ปริมาณของเหลวเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร (หรือ 1 ลิตร)

1.3 ผู้โดยสารที่มีอาวุธปืนต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน ณ เคาน์เตอร์เช็คอิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบเอกสารและแยกเครื่องกระสุน ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้

1.4 ผู้โดยสารไม่ได้รับอนุญาตให้นำพาสารหรือวัตถุอันตรายทุกชนิดไปกับเครื่องบิน ไม่ว่าจะบรรทุกไปกับสัมภาระที่เช็คอินหรือนำติดตัวขึ้นเครื่องบิน

2. เมื่อ Check-In เสร็จแล้ว

2.1 เมื่อผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศเช็คอินเสร็จแล้ว จะต้องเข้ารับการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Passport Control) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขอความร่วมมือผู้โดยสารที่ต้องไปขึ้นเครื่องบินที่ ประตูทางออกขึ้นเครื่องบิน (Gate) C1-C10 และ D1-D4 ให้เข้าช่องทางตรวจหนังสือเดินทางด้านหลังเคาน์เตอร์เช็คอิน Row K-L ส่วนผู้โดยสารที่ต้องขึ้นเครื่องบินที่ประตูทางออกขึ้นเครื่องบิน (Gate) D5-D8, E1-E10, F1-F6 และ G1-G5 ให้เข้าช่องทางตรวจหนังสือเดินทางด้านหลังเคาน์เตอร์เช็คอิน Row T-U

3. การตรวจค้น

3.1 เมื่อผ่านการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแล้ว ผู้โดยสารจะเข้าสู่ขั้นตอน การตรวจค้น เพื่อการรักษาความปลอดภัย เริ่มจากการเตรียมบัตรโดยสาร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

3.2 ให้ผู้โดยสารนำกระเป๋าที่ถือติดตัวใส่ถาดเพื่อเข้าเครื่อง X-Ray หากท่านใดมีคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop) เสื้อแจ็กเก็ต เข็มขัด และถุง Zip-Lock บรรจุของเหลวให้แยกต่างหากและใส่อีกถาดหนึ่งเพื่อเข้าเครื่อง X-Ray

ผู้ โดยสารอาจถูกขอให้ถอดรองเท้า เพื่อนำไปตรวจด้วยเครื่อง X-Ray ทั้งนี้ ได้มีการจัดเตรียมรองเท้ากระดาษ พร้อมทั้งถาด ใส่รองเท้าไว้ให้บริการ

3.3 สำหรับตัวผู้โดยสารให้เดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะ ผู้โดยสารท่านใดที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) หรือกำลังตั้งครรภ์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด้านหน้าจุดตรวจค้นเพื่อผ่านเข้าช่องทางเฉพาะ และรับการตรวจค้นร่างกายด้วยมือ

3.4 ผู้โดยสารที่เดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะแล้วเกิดสัญญาณเตือน ผู้โดยสารต้องเดินกลับออกไป เพื่อตรวจซ้ำอีกครั้งว่า ยังมีสิ่งของที่เป็นโลหะหลงเหลืออยู่หรือไม่ หากพบว่ามีให้นำสิ่งของใส่ ลงในถาดที่จัดเตรียมไว้ผ่านเครื่อง X-Ray และเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะเป็นครั้งที่ 2

3.5 กรณีที่ผู้โดยสารเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะเป็นครั้งที่ 2และยังมีสัญญาณเตือน เจ้าหน้าที่จะเชิญให้ผู้โดยสารพักรอในพื้นที่ ที่จัดไว้ และเจ้าหน้าที่ตรวจค้นจะมารับไปทำการตรวจค้นร่างกาย เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เครื่องตรวจจับโลหะส่งสัญญาณ

3.6 เมื่อผู้โดยสารได้รับการตรวจค้นร่างกายและสัมภาระทุกขั้นตอนแล้ว จะสามารถไปรอขึ้นเครื่องบินได้

ผู้โดยสารที่ปฏิเสธการตรวจค้นไม่ว่าจะเป็นการตรวจค้นกระเป๋าสัมภาระหรือการตรวจค้นร่างกายและปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านจุดตรวจค้น เพื่อไปขึ้นเครื่องบิน

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ

ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 0-2132-1888

ศูนย์บริการทางโทรศัพท์การบินไทย 0-2356-1111

บริการติดตามสัมภาระท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 0-2132-1880 , 0-21321890

บริการรับฝากกระเป๋า 0-2134-7795-6

ตำรวจท่องเที่ยว 0-2135-1155 , 0-2134-4070

บริการรถโดยสารบุคคลลีมูซีน 0-2134-2323-5

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 0-2134-4079

โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ 0-2131-1111

ห้องรับรองบุคคลทั่วไป (CIP) 08:00 – 17:00 น. 0-2132-9371

ห้องรับรองบุคคลทั่วไป (CIP) 17:00 – 08:00 น. 0-2132-0168

ที่มา http://www.suvarnabhumiairport.com/security_information.php

 

 

USEFUL AIRPORT NUMBERS

Suvarnabhumi Airport Call Center                       02 132-1888

Help Desk                                                         02 132-3888

Flight Information                                              02 132-0000

Airport Information Counter ( Departures )           02 132-9324-7

Airport Information Counter ( Arrivals )                02 132-9328-9

Airport Operation Duty Officer                           02 132-4101

Emergency / Security Service                            02 132-1911

Fire Department                                                02 132-9911

Airport Medical Center                                       02 132-7777

Security center                                                 02 132-6596-9

The transport Call Center                                    02 578-5599

Bangkok International Airport                              02 535-1111

Arrivals                                                             02 585-1149, 02 535-1301

Departures                                                        02 535-1254, 02 535-1386

Domestic                                                          02 535-1253

Information                                                       02 535-2846-7, 02 535-2081-2

Timetable                                                          1566